พ.ร.บ.รถยนต์คืออะไร และการต่อพ.ร.บ.รถยนต์ต้องใช้อะไรบ้าง

คำว่า "พ.ร.บ." คงเป็นคำที่หลาย ๆ คนเคยได้ยินหรือรู้จักกันมาบ้าง แต่คงไม่ใช่ทุกคนที่เข้าใจว่า "พ.ร.บ." มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับชีวิตเราได้อย่างไร วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคนได้รู้จักกันมากขึ้น

พ.ร.บ รถยนต์ คืออะไร

"พ.ร.บ." ที่เรามักจะได้ยินเมื่อทำประกันภัยรถยนต์ หมายถึง พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดให้รถยนต์ทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกต้องจัดให้มีประกันภัยอย่างน้อยที่สุด คือ การทำประกันภัยภายใต้ข้อบังคับของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือที่เรียกกันว่า ประกันภัย พ.ร.บ.รถยนต์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองแก่บุคคลผู้ประสบอุบัติเหตุจากการใช้รถได้อย่างทันท่วงที โดยไม่คำนึงถึงว่าบุคคลที่ประสบอุบัติเหตุดังกล่าวเป็นผู้กระทำผิดหรือไม่

สามารถต่อประกันภัยหรือซื้อ พ.ร.บ.รถยนต์ออนไลน์ผ่าน ไดเร็ค เอเชีย รวดเร็ว ง่าย คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น ไม่ต้องรอการพิสูจน์ถูกผิด
ทำประกันภัยต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ออนไลน์กับไดเร็ค เอเชีย คุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์ หลังจากพิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูก
ความคุ้มครองไม่ต้องรอการพิสูจน์ถูกผิด
รถชน

ความเสียหายต่อร่างกายและอนามัย

วงเงินคุ้มครองสูงสุด 30,000 บาท/คน

คนบาดเจ็บ

การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร

วงเงินคุ้มครองสูงสุด 35,000 บาท

ความคุ้มครองไม่ต้องรอการพิสูจน์ถูกผิด
รถชน

ความเสียหายต่อร่างกายและอนามัย

วงเงินคุ้มครองสูงสุด 80,000 บาท

คนบาดเจ็บ

การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร

วงเงินคุ้มครอง500,000 บาท ต่อหนึ่งคน

ผู้ป่วย

ค่าชดเชยรายวัน กรณีเข้ารักษาตัวในฐานะผู้ป่วยใน

วงเงินคุ้มครอง

(สูงสุด 20 วัน)

สูงสุด 200 บาท/วัน และสูงสุด 4,000 บาท/ครั้ง

คนขับรถ

จำนวนความรับผิดชอบรวมต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง

วงเงินคุ้มครองไม่เกิน 504,000 ต่อหนึ่งคน

เช็คเบี้ยประกันรถยนต์ฟรี คลิก!

พ.ร.บ.รถยนต์คุ้มครองอะไรบ้าง ?

• คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น

ผู้ประสบภัย ไม่ว่าจะเป็น ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือคนเดินเท้า จะได้รับความคุ้มครอง เป็นค่ารักษาพยาบาลในกรณีบาดเจ็บ และค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด ซึ่งบริษัทประกันจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัย หรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัย ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่บริษัทได้รับคำร้องขอ เป็นจำนวนเงินดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท/คน
  • กรณีผู้ประสบภัยสูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต จะได้รับค่าชดเชยจำนวน 35,000 บาท/คน
  • กรณีผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บ และต่อมาได้สูญเสียอวัยวะ จะได้รับค่าชดเชยรวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาท/คน
  • กรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิตหลังจากเข้ารักษาพยาบาล จะได้รับค่าชดเชยไม่เกิน 65,000 บาท/คน

• คุ้มครองค่าสินไหมทดแทน

เป็นค่าเสียหายที่นอกเหนือจากค่าเสียหายเบื้องต้น โดยบริษัทประกันจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน ในกรณีผู้ประสบภัยได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูก จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนเงินดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาลและค่าเสียหายอย่างอื่นที่ผู้ประสบภัย สามารถเรียกร้องได้ไม่เกิน 80,000 บาท/คน
  • สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร บริษัทประกันจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 200,000 - 500,000 บาท/คน
  • กรณีเสียชีวิต บริษัทประกันจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 500,000 บาท/คน
  • ในกรณีที่เข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน บริษัทจะจ่ายค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท จำนวนรวมกันไม่เกิน 20 วัน
อ่านเพิ่มเติมที่นี้

พ.ร.บ รถยนต์ ไม่คุ้มครองอะไรบ้าง

พ.ร.บ.รถยนต์จะไม่คุ้มครองความเสียหายในกรณี

• การขับขี่นอกอาณาเขตประเทศไทย

การขับขี่นอกอาณาเขตประเทศไทย เป็นอีกเหตุผลนึงที่พ.ร.บ.รถยนต์ไม่ได้ให้ความคุ้มครอง ดังนั้น หากต้องขับรถยนต์ออกนอกเขตประเทศไทย โดยเฉพาะการเดินทางข้ามพรมแดนในหลาย ๆ ประเทศที่อยู่แทบเพื่อนบ้าน ก็ควรทำประกันรูปแบบอื่นเพิ่มเติมไว้ด้วย

• ความเสียหายที่เกิดจากการถูกยักยอก กรรโชก รีดเอาทรัพย์

ถึงแม้ว่าพ.ร.บ.รถยนต์จะไม่ได้ให้ความคุ้มครอง แต่เจ้าของรถก็ควรไปแจ้งความเอาไว้ เผื่อในกรณีที่คนร้ายเอารถที่ขโมยไปเกิดอุบัติเหตุรถชน พ.ร.บ.รถยนต์จะยังช่วยคุ้มครองผู้บาดเจ็บที่คนร้ายขับไปชนได้ โดยให้ผู้ประสบเหตุไปร้องขอที่กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ

• การนำรถไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย

เช่น ใช้รถยนต์ขนยาเสพติด อาวุธปืน ของเถื่อนหรือของปลอม ของผิดกฏหมายทุกประเภท ไม่ว่าจะรู้เห็น หรือไม่รู้เห็นก็ตาม พ.ร.บ.รถยนต์จะไม่คุ้มครองทั้งสิ้น

• การนำรถไปใช้ในการแข่งขันความเร็ว

การแข่งรถจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากประกันภัยรถยนต์รวมถึง พ.ร.บ.รถยนต์ เพราะถือว่าเป็นกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงและมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้มากกว่าการขับขี่รถยนต์ทั่วไปในชีวิตประจำวัน

ราคาพ.ร.บ.รถยนต์สำหรับรถยนต์แต่ละประเภท

รถยนต์โดยสาร
รถเก๋ง

รถยนต์โดยสาร ที่นั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง)

ราคา พ.ร.บ.600 บาท

รถตู้

รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง (รถตู้)

ราคา พ.ร.บ.1,100 บาท

รถบัสเล็ก

รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง

ราคา พ.ร.บ.2,050 บาท

รถบัสใหญ่

รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง

ราคา พ.ร.บ.3,200 บาท

รถบัสใหญ่

รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 40 ที่นั่ง

ราคา พ.ร.บ.3,740 บาท

ความคุ้มครองไม่ต้องรอการพิสูจน์ถูกผิด
รถกระบะ

รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก ไม่เกิน 3 ตัน (รถกระบะ)

ราคา พ.ร.บ.900 บาท

รถบรรทุก

รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 3 ตัน ไม่เกิน 6 ตัน

ราคา พ.ร.บ.1,220 บาท

รถบรรทุก

รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 6 ตัน ไม่เกิน 12 ตัน

ราคา พ.ร.บ.1,310 บาท

รถบรรทุกน้ำมัน

รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวม ไม่เกิน 12 ตัน

ราคา พ.ร.บ.1,680 บาท

รถบรรทุกน้ำมัน

รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวม เกิน 12 ตัน

ราคา พ.ร.บ.2,320 บาท

ความคุ้มครองไม่ต้องรอการพิสูจน์ถูกผิด
รถลากจูง

หัวรถลากจูง

ราคา พ.ร.บ.2,370 บาท

รถพ่วง

รถพ่วง

ราคา พ.ร.บ.600 บาท

รถแทรคเตอร์

รถยนต์ที่ใช้ในการเกษตร

ราคา พ.ร.บ.90 บาท

เช็คเบี้ยประกันรถยนต์ฟรี คลิก!

วิธีติดป้ายพ.ร.บ.รถยนต์

ผู้ขับขี่บางคนยังเข้าใจผิด และมักค้นหาการติด พ.ร.บ.หน้ารถ หรือ ที่ติด พ.ร.บ.หน้ารถ แท้จริงแล้วป้าย พ.ร.บ.ไม่ต้องติดหน้ารถ แต่เป็นป้ายภาษีรถ หรือเรียกอีกอย่างว่าป้ายวงกลมต่างหากที่ต้องติด ซึ่งเป็นเอกสารที่ออกโดยกรมขนส่งทางบก จะได้รับหลังจากต่อ พ.ร.บ.พร้อมชำระภาษีรถประจำปีเรียบร้อยแล้ว และผู้ขับขี่จำเป็นต้องแสดงป้ายภาษีโดยแปะไว้หน้ากระจกรถ ไม่เช่นนั้นจะถือว่ามีความผิด และมีโทษปรับ ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ ปี พ.ศ.2522 ตามมาตรา 11 ระบุไว้ว่า “เครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีให้ติดที่ด้านในของกระจกกันลมด้านหน้ารถ โดยหันข้อความด้านหน้าของเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีออกด้านนอกรถ เว้นแต่รถจักรยานยนต์ รถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์ รถใช้งานเกษตรกรรม และรถอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงให้ติดในที่ที่สามารถมองเห็น ข้อความด้านหน้าของเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีได้ชัดเจน บทกำหนดโทษตาม มาตรา 60 อัตรา โทษปรับไม่ควรต่ำกว่า 200 บาท แต่ไม่เกิน 2,000 บาท”

ตัวอย่างป้ายภาษีหรือป้ายวงกลม

ป้าย พ.ร.บ

พ.ร.บ.รถยนต์หมดอายุต้องทำอย่างไร

• อายุของ พ.ร.บ.รถยนต์

ความคุ้มครองของ พ.ร.บ.รถยนต์ มีอายุ 1 ปี และจะต้องต่อ พ.ร.บ.เมื่อหมดอายุ ไม่เช่นนั้นอาจถูกปรับไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่ง พ.ร.บ.รถจะไม่สามารถซื้อย้อนหลังได้ แต่สามารถซื้อความคุ้มครองล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90 วัน

• กรณี พ.ร.บ. หมดอายุเป็นเวลานาน

เมื่อ พ.ร.บ. ขาดต่อเป็นเวลานาน 3 ปี จะส่งผลให้เลขทะเบียนรถคุณถูกระงับด้วย คุณจะต้องไปจดทะเบียนรถใหม่ที่กรมขนส่งทางบก อีกทั้งต้องยื่นชำระภาษีรถคงค้างย้อนหลังด้วยค่าปรับในอัตรา 1% ต่อปี จึงจะสามารถขับรถได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ใช้อะไรบ้าง

ผู้เอาประกันสามารถเข้าไปติดต่อกรมขนส่งทางบกของแต่ละจังหวัดเพื่อยื่นเอกสารต่อประกัน พ.ร.บ.ได้ โดยเอกสารที่ควรเตรียมให้พร้อม มีดังนี้

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาทะเบียนรถ หรือเล่มจริง

หากไม่สะดวกเดินทางสามารถต่อประกัน พ.ร.บ.ผ่านเว็บไซต์ของทางกรมขนส่งทางบกได้เช่นกัน หรือช่องทางอื่น ๆ เช่น ที่ทำการไปรษณีย์, ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ, ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.), จุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส หรือที่ ไดเร็ค เอเชีย คุณสามารถซื้อประกัน พ.ร.บ.เพียงอย่างเดียว หรือซื้อแพคคู่กับประกันภาคสมัครใจที่สนใจได้ เพียงโทร 02-767-7777 หรือ ซื้อผ่าน www.directasia.co.th อยู่ที่ไหนก็ซื้อประกัน พ.ร.บ.ได้ 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องเดินทาง สะดวกสุด ๆ ด้วยขั้นตอนที่ง่าย พร้อมให้คุณชำระเบี้ยประกันรถยนต์ผ่านเว็บไซต์ได้ทันที

คำถามพ.ร.บ.รถยนต์ ที่พบบ่อย

Q: ไม่ทำประกัน พ.ร.บ.รถยนต์ได้ไหม

A:

การทำประกันภัย พ.ร.บ.คือ การประกันภัยภาคบังคับ ซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าของรถทุกคันจะต้องทำ หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับ สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท และทำให้คุณไม่สามารถเสียภาษีรถยนต์ได้ ส่งผลให้ป้ายทะเบียนขาดต่ออายุร่วมด้วย

Q: พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองรถหายไหม

A:

ประกัน พ.ร.บ.ให้ความคุ้มครองเฉพาะความเสียหายต่อบุคคลที่ประสบเหตุเท่านั้น ไม่ได้คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์หรือกรณีรถของผู้เอาประกันสูญหาย แต่ผู้เอาประกันสามารถซื้อประกันภาคสมัครใจเพิ่ม โดยสามารถคลิกดูรายละเอียด ประกันรถชั้น 1 ที่ให้ความคุ้มครองรถหาย หรือ ประกันรถชั้น 2+ ที่คุ้มครองรถหายสูงถึง 2 เท่า* สามารถดูรายละเอียดของ ประกันรถชั้น 2, 3+ และ 3 สำหรับความคุ้มครองที่อยู่นอกเหนือประกัน พ.ร.บ.ได้ที่ www.directasia.co.th

Q: เคลม พ.ร.บ.รถยนต์ยังไง

A:
  • ติดต่อบริษัทประกันทันทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์
  • แจ้งความกับตำรวจภายใน 24 ชั่วโมงหลังเกิดอุบัติเหตุ เช็คให้แน่ใจว่าคุณให้ข้อมูล หมายเลขกรมธรรม์ประกันภัย, เลขทะเบียนรถ, วันและเวลาเกิดอุบัติเหตุ, สถานที่เกิดเหตุ และข้อมูลการติดต่อของพยาน ครบถ้วน
  • เตรียมเอกสารสำหรับแจ้งเคลมประกันภัยภาคบังคับ ดังนี้
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
    • สำเนาทะเบียนบ้าน
    • สำเนาเล่มทะเบียนรถ
    • สำเนาใบขับขี่
    • ใบแจ้งความ
    • สำเนาประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ (ถ้ามี)
    • สำเนา พ.ร.บ.
    • ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล (ถ้ามี)
    • ใบมรณบัตร (ถ้ามี)
    • ใบรับรองแพทย์ (ถ้ามี)

Q: ป้ายภาษีรถยนต์คืออะไร

A:

ป้ายภาษีรถยนต์เป็นเอกสารสำคัญประจำรถ ที่จะได้รับมาก็ต่อเมื่อมีการชำระภาษีประจำปีเสร็จเรียบร้อย และเราจะต้องติดเอาไว้ที่หน้ารถเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถทำการตรวจสอบได้ หากไม่มีป้ายนี้ผู้ขับขี่จะได้รับโทษปรับ 400-1,000 บาท

Q: ความคุ้มครองของ พ.ร.บ.รถยนต์เพียงพอไหม

A:

ประกันภัยภาคบังคับให้ความคุ้มครองพื้นฐานสำหรับความเสี่ยงทางการเงินสำหรับผู้ประสบภัยจากรถยนต์ แต่ความคุ้มครองนี้จะจำกัดเฉพาะความเสียหายและการบาดเจ็บต่อชีวิตและร่างกาย ไม่รวมความเสียหายของรถยนต์และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ดังนั้น แนะนำให้ซื้อประกันรถยนต์ภาคสมัครใจเพิ่มเติมไว้ด้วย

Q: สามารถซื้อประกัน พ.ร.บ.รถยนต์ล่วงหน้าได้ไหม

A:

ได้ เฉพาะกรณีต่ออายุประกัน พ.ร.บ.เท่านั้น โดยสามารถซื้อล่วงหน้าได้สูงสุดไม่เกิน 90 วัน

 

Q: ต่อ พ.ร.บ.ต้องตรวจสภาพรถไหม

A:

การต่อพ.ร.บ.รถยนต์ของรถที่มีอายุเกิน 7 ปีขึ้นไป จะต้องตรวจสภาพรถก่อน โดยสามารถตรวจได้ที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ทุกแห่ง ที่ได้การรับรองจากกรมการขนส่งทางบก รวมถึงที่กรมขนส่งทางบก

Q: ไม่ใช่เจ้าของรถสามารถเบิก พ.ร.บ.ได้ไหม

A:

ได้ เนื่องจาก พ.ร.บ.รถยนต์จะคุ้มครองคนที่ประสบภัยทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสารหรือคู่กรณีก็ตาม โดยสามารถใช้สิทธิ์เบิกค่ารักษาพยาบาล รวมไปถึงค่าชดเชยต่าง ๆ ด้วย แต่การคุ้มครองของ พ.ร.บ.รถยนต์นั้นก็ยังแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ

  • หากคุณเป็นฝ่ายผิด สามารถเบิกจากค่ารักษาพยาบาลที่เกิดจากการบาดเจ็บ (จ่ายตามจริง) สูงสุด 30,000 บาท การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร สูงสุด 35,000 บาท
  • หากคุณเป็นฝ่ายถูก สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ หรือค่าเสียหายอื่นๆ สูงสุด 80,000 บาท การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร สูงสุด 500,000 บาท ชดเชยรายวันวันละ 200 บาทไม่เกิน 20 วัน (ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยใน หรือ IPD)
ประกาศแจ้งเตือน

ให้เราช่วยไหม

ให้ผู้เชี่ยวชาญของเราช่วยเลือกกรมธรรม์ที่เหมาะกับคุณและประหยัดที่สุด เพียงกรอกชื่อและเบอร์โทรเพื่อให้เราติดต่อกลับ

กรุณาระบุชื่อ

กรุณาระบุเบอร์มือถือ (เบอร์มือถือต้องขึ้นต้นด้วย 06, 08 หรือ 09)

ท่านได้อ่าน เข้าใจ และให้ความยินยอม สำหรับการเก็บรวบรวม จัดเก็บ ใช้ เก็บรักษา ประมวลผล เปิดเผย และโอนข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อวัตถุประสงค์ตามที่ระบุไว้ใน ถ้อยแถลงเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ไดเร็ค เอเชีย ขอขอบคุณ

ทีมงานจะรีบติดต่อคุณกลับภายในวันและ
เวลาทำการด้วยเบอร์

02-767-7776 หรือ 02-767-7777

จันทร์-ศุกร์ : 08.00 - 19.00 น

เสาร์-อาทิตย์ : 09.00 - 18.00 น.

(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)

หรือ เช็คราคาออนไลน์ได้เลย ง่ายนิดเดียว

เช็คราคา