พ.ร.บ.รถยนต์คืออะไร และการต่อพ.ร.บ.รถยนต์ต้องใช้อะไรบ้าง
คำว่า "พ.ร.บ." คงเป็นคำที่หลาย ๆ คนเคยได้ยินหรือรู้จักกันมาบ้าง แต่คงไม่ใช่ทุกคนที่เข้าใจว่า "พ.ร.บ." มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับชีวิตเราได้อย่างไร วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคนได้รู้จักกันมากขึ้น
พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร
"พ.ร.บ." ที่เรามักจะได้ยินเมื่อทำประกันภัยรถยนต์ หมายถึง พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดให้รถยนต์ทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกต้องจัดให้มีประกันภัยอย่างน้อยที่สุด คือ การทำประกันภัยภายใต้ข้อบังคับของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือที่เรียกกันว่า ประกันภัย พ.ร.บ.รถยนต์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองแก่บุคคลผู้ประสบอุบัติเหตุจากการใช้รถได้อย่างทันท่วงที โดยไม่คำนึงถึงว่าบุคคลที่ประสบอุบัติเหตุดังกล่าวเป็นผู้กระทำผิดหรือไม่
สามารถต่อประกันภัยหรือซื้อ พ.ร.บ.รถยนต์ออนไลน์ผ่าน ไดเร็ค เอเชีย รวดเร็ว ง่าย คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น ไม่ต้องรอการพิสูจน์ถูกผิด
วงเงินคุ้มครอง
สูงสุด 30,000 บาท/คน
วงเงินคุ้มครอง
สูงสุด 35,000 บาท
ทำประกันภัยต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ออนไลน์กับไดเร็ค เอเชีย คุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์ หลังจากพิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูก
วงเงินคุ้มครอง
สูงสุด 80,000 บาท/คน
วงเงินคุ้มครอง
สูงสุด 500,000 บาท
วงเงินคุ้มครอง
(สูงสุด 20 วัน)
สูงสุด 200 บาท/วัน และสูงสุด 4,000 บาท/ครั้ง
วงเงินคุ้มครอง
ไม่เกิน 504,000 ต่อหนึ่งคน
พ.ร.บ.รถยนต์คุ้มครองอะไรบ้าง ?
ผู้ประสบภัย ไม่ว่าจะเป็น ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือคนเดินเท้า จะได้รับความคุ้มครอง เป็นค่ารักษาพยาบาลในกรณีบาดเจ็บ และค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด ซึ่งบริษัทประกันจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัย หรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัย ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่บริษัทได้รับคำร้องขอ เป็นจำนวนเงินดังนี้
- ค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท/คน
- กรณีผู้ประสบภัยสูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต จะได้รับค่าชดเชยจำนวน 35,000 บาท/คน
- กรณีผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บ และต่อมาได้สูญเสียอวัยวะ จะได้รับค่าชดเชยรวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาท/คน
- กรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิตหลังจากเข้ารักษาพยาบาล จะได้รับค่าชดเชยไม่เกิน 65,000 บาท/คน
เป็นค่าเสียหายที่นอกเหนือจากค่าเสียหายเบื้องต้น โดยบริษัทประกันจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน ในกรณีผู้ประสบภัยได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูก จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนเงินดังนี้
- ค่ารักษาพยาบาลและค่าเสียหายอย่างอื่นที่ผู้ประสบภัย สามารถเรียกร้องได้ไม่เกิน 80,000 บาท/คน
- สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร บริษัทประกันจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 200,000 - 500,000 บาท/คน
- กรณีเสียชีวิต บริษัทประกันจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 500,000 บาท/คน
- ในกรณีที่เข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน บริษัทจะจ่ายค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท จำนวนรวมกันไม่เกิน 20 วัน
พ.ร.บ.รถยนต์ไม่คุ้มครองเรื่องอะไรบ้าง
การขับขี่นอกอาณาเขตประเทศไทย เป็นอีกเหตุผลนึงที่พ.ร.บ.รถยนต์ไม่ได้ให้ความคุ้มครอง ดังนั้น หากต้องขับรถยนต์ออกนอกเขตประเทศไทย โดยเฉพาะการเดินทางข้ามพรมแดนในหลาย ๆ ประเทศที่อยู่แถบเพื่อนบ้าน ก็ควรทำประกันรูปแบบอื่นเพิ่มเติมไว้ด้วย
ถึงแม้ว่าพ.ร.บ.รถยนต์จะไม่ได้ให้ความคุ้มครอง แต่เจ้าของรถก็ควรไปแจ้งความเอาไว้ เผื่อในกรณีที่คนร้ายเอารถที่ขโมยไปเกิดอุบัติเหตุรถชน พ.ร.บ.รถยนต์จะยังช่วยคุ้มครองผู้บาดเจ็บที่คนร้ายขับไปชนได้ โดยให้ผู้ประสบเหตุไปร้องขอที่กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ
เช่น ใช้รถยนต์ขนยาเสพติด อาวุธปืน ของเถื่อนหรือของปลอม ของผิดกฏหมายทุกประเภท ไม่ว่าจะรู้เห็น หรือไม่รู้เห็นก็ตาม พ.ร.บ.รถยนต์จะไม่คุ้มครองทั้งสิ้น
การแข่งรถจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากประกันภัยรถยนต์รวมถึง พ.ร.บ.รถยนต์ เพราะถือว่าเป็นกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงและมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้มากกว่าการขับขี่รถยนต์ทั่วไปในชีวิตประจำวัน
ราคาพ.ร.บ.รถยนต์ สำหรับรถยนต์แต่ละประเภท
รถยนต์โดยสาร | ราคา พ.ร.บ. |
---|---|
รถยนต์โดยสาร ที่นั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง) | 600 บาท |
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง (รถตู้) | 1,100 บาท |
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง | 2,050 บาท |
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง | 3,200 บาท |
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 40 ที่นั่ง | 3,740 บาท |
รถกระบะ / รถบรรทุก | ราคา พ.ร.บ. |
---|---|
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก ไม่เกิน 3 ตัน (รถกระบะ) | 900 บาท |
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 3 ตัน ไม่เกิน 6 ตัน | 1,220 บาท |
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 6 ตัน ไม่เกิน 12 ตัน | 1,310 บาท |
รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวม ไม่เกิน 12 ตัน | 1,680 บาท |
รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวม เกิน 12 ตัน | 2,320 บาท |
รถยนต์ประเภทอื่น | ราคา พ.ร.บ. |
---|---|
หัวรถลากจูง | 2,370 บาท |
รถพ่วง | 600 บาท |
รถยนต์ที่ใช้ในการเกษตร | 90 บาท |
วิธีติดป้าย พ.ร.บ.รถยนต์
ผู้ขับขี่บางคนยังเข้าใจผิด และมักค้นหาการติด พ.ร.บ.หน้ารถ หรือ ที่ติด พ.ร.บ.หน้ารถ แท้จริงแล้วป้าย พ.ร.บ.ไม่ต้องติดหน้ารถ แต่เป็นป้ายภาษีรถ หรือเรียกอีกอย่างว่าป้ายวงกลมต่างหากที่ต้องติด ซึ่งเป็นเอกสารที่ออกโดยกรมขนส่งทางบก จะได้รับหลังจากต่อ พ.ร.บ.พร้อมชำระภาษีรถประจำปีเรียบร้อยแล้ว และผู้ขับขี่จำเป็นต้องแสดงป้ายภาษีโดยแปะไว้หน้ากระจกรถ ไม่เช่นนั้นจะถือว่ามีความผิด และมีโทษปรับตามพระราชบัญญัติรถยนต์ ปี พ.ศ.2522 ตามมาตรา 11 ระบุไว้ว่า “เครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีให้ติดที่ด้านในของกระจกกันลมด้านหน้ารถ โดยหันข้อความด้านหน้าของเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีออกด้านนอกรถ เว้นแต่รถจักรยานยนต์ รถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์ รถใช้งานเกษตรกรรม และรถอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงให้ติดในที่ที่สามารถมองเห็น ข้อความด้านหน้าของเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปีได้ชัดเจน บทกำหนดโทษตาม มาตรา 60 อัตรา โทษปรับไม่ควรต่ำกว่า 200 บาท แต่ไม่เกิน 2,000 บาท”
ตัวอย่างป้ายภาษีหรือป้ายวงกลม
ความคุ้มครองของ พ.ร.บ.รถยนต์ มีอายุ 1 ปี และจะต้องต่อ พ.ร.บ.เมื่อหมดอายุ ไม่เช่นนั้นอาจถูกปรับไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่ง พ.ร.บ.รถจะไม่สามารถซื้อย้อนหลังได้ แต่สามารถซื้อความคุ้มครองล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90 วัน
เมื่อ พ.ร.บ. ขาดต่อเป็นเวลานาน 3 ปี จะส่งผลให้เลขทะเบียนรถคุณถูกระงับด้วย คุณจะต้องไปจดทะเบียนรถใหม่ที่กรมขนส่งทางบก อีกทั้งต้องยื่นชำระภาษีรถคงค้างย้อนหลังด้วยค่าปรับในอัตรา 1% ต่อปี จึงจะสามารถขับรถได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ใช้อะไรบ้าง
ผู้เอาประกันสามารถเข้าไปติดต่อกรมขนส่งทางบกของแต่ละจังหวัดเพื่อยื่นเอกสารต่อประกัน พ.ร.บ.ได้ โดยเอกสารที่ควรเตรียมให้พร้อม มีดังนี้
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาทะเบียนรถ หรือเล่มจริง
หากไม่สะดวกเดินทางสามารถต่อประกัน พ.ร.บ.ผ่านเว็บไซต์ของทางกรมขนส่งทางบกได้เช่นกัน หรือช่องทางอื่น ๆ เช่น ที่ทำการไปรษณีย์, ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ, ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.), จุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส หรือที่ ไดเร็ค เอเชีย คุณสามารถซื้อประกัน พ.ร.บ.เพียงอย่างเดียว หรือซื้อแพคคู่กับประกันภาคสมัครใจที่สนใจได้ เพียงโทร 02-767-7777 หรือ ซื้อผ่าน www.directasia.co.th อยู่ที่ไหนก็ซื้อประกัน พ.ร.บ.ได้ 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องเดินทาง สะดวกสุด ๆ ด้วยขั้นตอนที่ง่าย พร้อมให้คุณชำระเบี้ยประกันรถยนต์ผ่านเว็บไซต์ได้ทันที
คำถามพ.ร.บ.รถยนต์ ที่พบบ่อย
Q: ไม่ทำประกัน พ.ร.บ.รถยนต์ได้ไหม
A: การทำประกันภัย พ.ร.บ.คือ การประกันภัยภาคบังคับ ซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าของรถทุกคันจะต้องทำ หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับ สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท และทำให้คุณไม่สามารถเสียภาษีรถยนต์ได้ ส่งผลให้ป้ายทะเบียนขาดต่ออายุร่วมด้วย
Q: พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองรถหายไหม
A: ประกัน พ.ร.บ.ให้ความคุ้มครองเฉพาะความเสียหายต่อบุคคลที่ประสบเหตุเท่านั้น ไม่ได้คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์หรือกรณีรถของผู้เอาประกันสูญหาย แต่ผู้เอาประกันสามารถซื้อประกันภาคสมัครใจเพิ่ม โดยสามารถคลิกดูรายละเอียด ประกันรถชั้น 1 ที่ให้ความคุ้มครองรถหาย หรือ ประกันรถชั้น 2+ ที่คุ้มครองรถหายสูงถึง 2 เท่า* สามารถดูรายละเอียดของ ประกันรถชั้น 2, 3+ และ 3 สำหรับความคุ้มครองที่อยู่นอกเหนือประกัน พ.ร.บ.ได้ที่ www.directasia.co.th
Q: เคลม พ.ร.บ.รถยนต์ยังไง
- ติดต่อบริษัทประกันทันทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์
- แจ้งความกับตำรวจภายใน 24 ชั่วโมงหลังเกิดอุบัติเหตุ เช็คให้แน่ใจว่าคุณให้ข้อมูล หมายเลขกรมธรรม์ประกันภัย, เลขทะเบียนรถ, วันและเวลาเกิดอุบัติเหตุ, สถานที่เกิดเหตุ และข้อมูลการติดต่อของพยาน ครบถ้วน
- เตรียมเอกสารสำหรับแจ้งเคลมประกันภัยภาคบังคับ ดังนี้
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาเล่มทะเบียนรถ
- สำเนาใบขับขี่
- ใบแจ้งความ
- สำเนาประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ (ถ้ามี)
- สำเนา พ.ร.บ.
- ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล (ถ้ามี)
- ใบมรณบัตร (ถ้ามี)
- ใบรับรองแพทย์ (ถ้ามี)
Q: ป้ายภาษีรถยนต์คืออะไร
A: ป้ายภาษีรถยนต์เป็นเอกสารสำคัญประจำรถ ที่จะได้รับมาก็ต่อเมื่อมีการชำระภาษีประจำปีเสร็จเรียบร้อย และเราจะต้องติดเอาไว้ที่หน้ารถเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถทำการตรวจสอบได้ หากไม่มีป้ายนี้ผู้ขับขี่จะได้รับโทษปรับ 400-1,000 บาท
Q: ความคุ้มครองของ พ.ร.บ.รถยนต์เพียงพอไหม
A: ประกันภัยภาคบังคับให้ความคุ้มครองพื้นฐานสำหรับความเสี่ยงทางการเงินสำหรับผู้ประสบภัยจากรถยนต์ แต่ความคุ้มครองนี้จะจำกัดเฉพาะความเสียหายและการบาดเจ็บต่อชีวิตและร่างกาย ไม่รวมความเสียหายของรถยนต์และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ดังนั้น แนะนำให้ซื้อประกันรถยนต์ภาคสมัครใจเพิ่มเติมไว้ด้วย
Q: สามารถซื้อประกัน พ.ร.บ.รถยนต์ล่วงหน้าได้ไหม
A: ได้ เฉพาะกรณีต่ออายุประกัน พ.ร.บ.เท่านั้น โดยสามารถซื้อล่วงหน้าได้สูงสุดไม่เกิน 90 วัน
Q: ต่อ พ.ร.บ.ต้องตรวจสภาพรถไหม
A: การต่อพ.ร.บ.รถยนต์ของรถที่มีอายุเกิน 7 ปีขึ้นไป จะต้องตรวจสภาพรถก่อน โดยสามารถตรวจได้ที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ทุกแห่ง ที่ได้การรับรองจากกรมการขนส่งทางบก รวมถึงที่กรมขนส่งทางบก
Q: ไม่ใช่เจ้าของรถสามารถเบิก พ.ร.บ.ได้ไหม
A: ได้ เนื่องจาก พ.ร.บ.รถยนต์จะคุ้มครองคนที่ประสบภัยทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสารหรือคู่กรณีก็ตาม โดยสามารถใช้สิทธิ์เบิกค่ารักษาพยาบาล รวมไปถึงค่าชดเชยต่าง ๆ ด้วย แต่การคุ้มครองของ พ.ร.บ.รถยนต์นั้นก็ยังแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
- หากคุณเป็นฝ่ายผิด สามารถเบิกจากค่ารักษาพยาบาลที่เกิดจากการบาดเจ็บ (จ่ายตามจริง) สูงสุด 30,000 บาท การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร สูงสุด 35,000 บาท
- หากคุณเป็นฝ่ายถูก สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ หรือค่าเสียหายอื่นๆ สูงสุด 80,000 บาท การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร สูงสุด 500,000 บาท ชดเชยรายวันวันละ 200 บาทไม่เกิน 20 วัน (ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยใน หรือ IPD)