สังเกตอาการพวงมาลัยล็อค อันตรายระหว่างขับขี่ไม่ควรมองข้าม!

by | มิ.ย. 8, 2023 | ทิปส์ & ทริคส์การใช้รถใช้ถนน | 0 comments

รถยนต์รุ่นใหม่ๆ นอกจากจะเน้นเปิดตัวกันด้วยระบบไฟฟ้าที่มีฟังก์ชันช่วยให้เราขับขี่และใช้งานง่ายขึ้น ซึ่งรวมถึงน้ำหนักพวงมาลัยรถยนต์ที่ถือเป็นเซ็นเตอร์หลักในการควบคุมทิศทางของรถยนต์ แต่แม้จะถูกพัฒนาให้มีน้ำหนักเบา หมุนง่าย จับถนัดมือ ก็ใช่ว่าจะชะล่าใจปัญหาพวงมาลัยล็อคได้อย่างเต็มที่ เมื่ออุบัติเหตุยังเป็นสิ่งที่อยู่นอกแผน การเช็กสภาพรถยนต์และซ้อมสังเกตอาการรถยนต์เสี่ยงพวงมาลัยล็อคจึงเป็นสิ่งสำคัญ

พวงมาลัยล็อคเกิดตอนไหน_DirectAsia

พวงมาลัยล็อคเกิดตอนไหนได้บ้าง ?

ไม่ว่าพวงมาลัยรถยนต์จะเป็นแบบไฮดรอลิกหรือระบบไฟฟ้า แต่ปัญหาพวงมาลัยล็อคยังเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจนำไปสู่อุบัติเหตุบนท้องถนนได้ ทั้งยังพบว่าปัญหาพวงมาลัยล็อคอาจเกิดขึ้นในขณะขับและช่วงจังหวะอื่นๆ ได้ ดังนี้

  • พวงมาลัยล็อคขณะขับ ความขัดข้องที่อาจเกิดขึ้นขณะขับขี่ ซึ่งอาจเกิดจากแร็กพวงมาลัยชำรุด หรือมีอุปกรณ์บังคับเลี้ยวของพวงมาลัยเสียหาย ซึ่งพบได้ในระบบพวงมาลัยแบบไฮดรอลิกที่ต้องอาศัยน้ำมันในการผ่อนแรงและบังคับทิศทางรถยนต์ เมื่อน้ำมันรั่วไหลจึงทำให้พวงมาลัยทำงานหนัก ควบคุมพวงมาลัยได้ยาก หรือทำให้รถยนต์เกิดพวงมาลัยล็อคขึ้นได้
  • พวงมาลัยล็อคก่อนสตาร์ท นอกจากพวงมาลัยล็อคขณะขับ เรายังพบปัญหาพวงมาลัยล็อคจนไม่สามารถสตาร์ทรถด้วยได้ ซึ่งเกิดขึ้นจากกลไกการทำงานของระบบพวงมาลัยที่ออกแบบไว้เพื่อป้องกันการขโมย หรือโจรกรรมรถยนต์ และเป็นสิ่งที่มักพบได้ในระบบกุญแจแบบไขสตาร์ท (แบบเก่า) 

สังเกตพวงมาลัยล็อค_DirectAsia

5 จุดสังเกตก่อนพวงมาลัยล็อค รถมีอาการยังไง

นอกจากปัญหาเกี่ยวกับระบบและอุปกรณ์เครื่องยนต์ที่ชำรุด เสียหาย การที่รถยนต์พวงมาลัยล็อคอาจมาจากสิ่งของต่างๆ ที่เรามองข้าม แต่เผลอวางไว้ใกล้พวงมาลัยรถยนต์ เช่น สายสิญจน์ หรือสายชาร์จโทรศัพท์ ที่อาจเข้าไปขัดหรือพันคอพวงมาลัย ทำให้พวงมาลัยล็อคขณะขับรถ ซึ่งนอกจากการตรวจสภาพรถยนต์พร้อมวางแผนทำประกันรถยนต์ชั้น1 อาจต้องฝึกสังเกต 5 อาการเสี่ยงพวงมาลัยล็อค! ดังนี้

  • พวงมาลัยสั่น ขับๆ รถอยู่พวงมาลัยสั่น อีกหนึ่งอาการก่อนพวงมาลัยล็อค ทั้งยังเป็นอาการของรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานนานหลายปี รวมถึงรถยนต์ที่อายุการใช้งานน้อยแต่ไม่ค่อยได้ดูแลรถยนต์ หรือผ่านการปรับแต่งเครื่องยนต์มากจนเกินไป
  • เลี้ยวแล้วคืนยาก ระหว่างขับขี่หากมีอาการพวงมาลัยไม่คืนตำแหน่งเดิม อาจเป็นสัญญาณของการวางศูนย์ล้อที่ไม่ถูกต้อง จนทำให้เกิดปัญหาพวงมาลัยล็อคขณะขับตามมาได้ 
  • พวงมาลัยไม่ตรงทั้งขณะจอดและขับ จุดสังเกตคล้ายๆ กับปัญหาเลี้ยวพวงมาลัยแล้วคืนยาก หรือไม่กลับมาที่เดิม ซึ่งนอกจากจะมาจากการตั้งศูนย์ล้อไม่ดี ยังพบได้ในรถที่ดัดแปลงช่วงล่างแบบไม่ได้มาตรฐานร่วมด้วย
  • รู้สึกพวงมาลัยหนัก อาการพวงมาลัยหนักมักพบได้จากรถยนต์ประเภทกระบะและรถยนต์แบบเกียร์ธรรมดา รวมถึงสภาพรถยนต์ที่ผิดปกติ เช่น ลมยางรถยนต์อ่อนเกินไปทำให้ล้อรถยนต์แบนแนบกับพื้นถนน ส่งผลให้พวงมาลัยหนักทำให้เราต้องออกแรงหมุนพวงมาลัยมากขึ้นตาม รวมถึงตั้งศูนย์รถยนต์ไม่ถูกต้อง และน้ำมันพาวเวอร์ต่ำกว่าระดับ เป็นต้น 
  • รู้สึกพวงมาลัยหลวม อาการพวงมาลัยหลวมจนเหมือนจะหลุด หรือมีช่วงฟรีมากไปจนควบคุมทิศทางพวงมาลัยได้ยาก อีกหนึ่งสัญญาณสามารถพบได้ก่อนเกิดปัญหาพวงมาลัยล็อคขณะขับรถเช่นกัน ทั้งยังเกิดจากสาเหตุคล้ายคลึงกันกับลักษณะพวงมาลัยหนักอีกด้วย

เราจะเห็นว่าปัญหาพวงมาลัยล็อค ไม่ได้เกิดเพราะ “พวงมาลัย” เพียงอย่างเดียว แต่ยังเกี่ยวเนื่องไปถึงระบบของเครื่องยนต์ในส่วนอื่นๆ ซึ่งทำงานสัมพันธ์กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การเตรียมความพร้อมก่อนสตาร์ทด้วยการเช็กน้ำมันเครื่องยนต์ การเช็กสภาพรถยนต์ จึงช่วยลดโอกาสเกิดปัญหาพวงมาลัยล็อคได้ โดยเฉพาะใครที่จอดรถนาน ใช้งานรถน้อยยิ่งต้องคอยหมั่นดูแลรถยนต์อยู่ป็นระยะ และอย่าลืมศึกษาคู่มือการเคลมประกัน และทำประกันรถยนต์ชั้น 1 เลือกความคุ้มครองที่ครบให้อุ่นใจ ไม่ว่าจะเกิดเหตุสุดวิสัยพวงมาลัยล็อค หรือต้องการความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ DirectAsia พร้อมบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชม. สิทธิพิเศษสำหรับผู้ซื้อประกันชั้น 1 เท่านั้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

สอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันภัยรถยนต์  โทร. 0-2767-7777 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมเช็กเบี้ยประกันรถยนต์ทั้งประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันชั้น 1 เซฟ, ประกันรถยนต์ 2+, ประกันรถยนต์ 3+, ประกันชั้น 2, และ ประกันชั้น 3 คลิก https://www.directasia.co.th

ทิปส์ & ทริคส์การใช้รถใช้ถนนสังเกตอาการพวงมาลัยล็อค อันตรายระหว่างขับขี่ไม่ควรมองข้าม!