แพนิคขับรถได้ไหม รับมืออาการแพนิคอย่างไรเมื่อต้องขับรถ
เช็คให้ชัวร์ก่อนจับพวงมาลัย แพนิคขับรถได้ไหม มาหาคำตอบไปพร้อมกับ ‘ไดเร็ค เอเชีย (DirectAsia)’ ตัวจริงเรื่องประกันรถยนต์ เพราะแพนิคถือเป็นอาการทางจิตชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ที่มีอาการแพนิคมีอาการอย่างไร อาการที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อกิจกรรมที่ทำหรือไม่ การขับรถจะเป็นสิ่งต้องห้ามหรือเปล่า ลองมาพิจารณากันดูจากเนื้อหาดี ๆ ที่เรานำมาฝากคุณในครั้งนี้กัน
อาการแพนิคคืออะไร
โรคแพนิค (Panic Disorder) ถือเป็นโรคจิตเวช เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติทำงานมากผิดปกติ อาจเกิดจากการที่ผู้ป่วยพบเจอกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง หรือส่งต่อทางพันธุกรรม ผู้ที่เป็นแพนิคจะมีอาการตื่นตระหนก ตกใจสุดขีดแบบฉันพลัน หลังจากนั้นจะแสดงออกทางร่างกายเป็นอาการแน่นหน้าอก ใจสั่น หายใจไม่ออกหรือหายใจไม่ทัน ไปจนถึงมือ เท้า หรือปากชา หรือที่เรียกว่า Panic Attack โดยไม่จำเป็นต้องมีสิ่งเร้ามากระตุ้นและไม่มีสัญญาณเตือน แต่อาการแพนิคก็กำเริบขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน เช่น ขณะขับรถ เดินทางอยู่ริมถนน หรือระหว่างอยู่ในลิฟต์
ระยะเวลาในการเกิดอาการแพนิคจะอยู่ระหว่าง 2 – 3 นาทีเท่านั้น แต่อาการที่แสดงออกทางร่างกาย เช่น รู้สึกอึดอัด หายใจไม่ออก หน้ามืด ใจสั่น จะค่อย ๆ ทุเลาลงเองเมื่อผ่านไปสักพัก ทำให้ผู้ที่มีอาการรู้สึกกลัวว่าอาการนี้จะกำเริบขึ้นมาเมื่อไร เพราะยังไม่มีข้อมูลมายืนยันว่าอาการนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และมีวิธีแก้อย่างไร
ยิ่งไปกว่านั้นคืออาการแพนิคจะส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันโดยตรง เพราะหากผู้ป่วยมีอาการในลิฟต์ ในรถ หรือที่ทำงาน อาจทำให้รู้สึกว่ากลัว ไม่อยากไป หรืออยากเลี่ยงการต้องใช้เวลาในสถานที่เหล่านั้น เพราะกลัวว่าอาการจะกำเริบขึ้นมาอีก
ในผู้ป่วยบางคนอาจหาทางออกด้วยการใช้แอลกอฮอล์ หรือสารเสพติดบางประเภท เช่น กัญชา มาช่วยให้รู้สึกดีขึ้น เพราะทำให้ผู้ที่มีอาการแพนิครู้สึกสงบลงเมื่อได้รับสารเหล่านี้เข้าไปในร่างกาย ซึ่งอาจไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องนัก ควรจะไปปรึกษาแพทย์มากกว่า โดยเริ่มจากการวินิจฉัยโรคทางร่างกายอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น กรดไหลย้อน ไทรอยด์เป็นพิษ ตรวจน้ำตาล เพื่อให้แน่ใจว่าอาการแพนิคที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคอื่น
เป็นแพนิคขับรถได้ไหม
จากลักษณะอาการแพนิคที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ซึ่งกินระยะเวลานานร่วม 20 นาที กว่าอาการจะหายไป จึงแนะนำว่าผู้ที่มีอาการแพนิคมาก่อนควรหลีกเลี่ยงการขับรถจะดีกว่า เพราะอาการนี้ไม่มีสัญญาณเตือนก่อนเกิด ทำให้เราไม่สามารถรู้ได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร หากเกิดขึ้นขณะขับรถอาจทำให้ผู้ขับขี่เสียการควบคุมได้
วิธีรับมือเมื่ออาการแพนิคกำเริบ
แม้ว่าอาการแพนิคจะสามารถบรรเทาลงได้เองหลังจากเกิดขึ้นแล้ว แต่เราควรรู้จักวิธีการรับมือเบื้องต้น กันไว้ด้วย โดยมีวิธีหลัก ๆ 3 วิธี ดังนี้
- พยายามตั้งสติ รู้เท่าทันว่าเริ่มเกิดอาการอะไรกับร่างกายของเรา
- หายใจเข้าและออกช้า ๆ และโฟกัสอยู่กับลมหายใจ
- พยายามบอกตัวเองว่าอาการแพนิคเป็นเพียงอาการชั่วคราว อาการจะเบาลงไปเอง
วิธีการเหล่านี้เป็นเพียงการรับมือที่ช่วยยับยั้งอาการเมื่อเกิดขึ้นเท่านั้น หากมีอาการหนักและเกิดขึ้นต่อเนื่อง ควรพบแพทย์เพื่อนำยามารับประทาน หรือเข้ารับการบำบัดเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อชีวิตจนรุนแรงเกินไป
ปกป้องร่างกายและความปลอดภัยจากอาการแพนิคที่เกิดขึ้นด้วยการรักษา แต่ถ้าเป็นเรื่องความปลอดภัยเมื่อขับขี่บนท้องถนน ให้ไดเร็ค เอเชีย ช่วยดูแลให้คุณ โดยคุณสามารถเลือกปรับเปลี่ยนความคุ้มครองได้ตามสไตล์การขับขี่ไปจนถึงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต เมื่อซื้อประกันรถยนต์กับ ไดเร็ค เอเชีย ไม่ว่าจะเป็น ประกันชั้น 1, ประกันรถยนต์ชั้น 1 เซฟ, ประกันรถยนต์ 2+, ประกันรถยนต์ 3+, ประกันชั้น 2, และ ประกันชั้น 3 แถม ผ่อนสบาย ๆ 0% นาน 10 เดือน ไม่มีบัตรก็ผ่อนได้ ซื้อวันนี้ฟรี บัตรเติมน้ำมันมูลค่าสูงสุด 1,500 บาท ด่วนจำนวนจำกัด!
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด
ขอบคุณข้อมูลจาก Doctor Tany
บทความที่เกี่ยวข้อง
ต้องการสอบถามรายละเอียดข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้าน ประกันรถยนต์ โทรฯ 02 767 7777 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมพร้อม เช็คเบี้ยประกันรถยนต์ ทั้ง ประกันชั้น 1, ประกันรถยนต์ชั้น 1 เซฟ, ประกันรถยนต์ 2+, ประกันรถยนต์ 3+, ประกันชั้น 2, และ ประกันชั้น 3 ได้ที่ https://www.directasia.co.th/