ติดตั้งอุปกรณ์ชาร์จรถไฟฟ้า EV ที่บ้านใช้เงินเท่าไหร่ ?

by | มี.ค. 18, 2024 | ทิปส์ & ทริคส์การใช้รถใช้ถนน | 0 comments

ตอบคำถามคาใจของผู้ใช้รถพลังงานไฟฟ้า EV ติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน ราคาเท่าไหร่ ประเมินรายจ่ายคร่าว ๆ ที่อาจเกิดขึ้น คุ้มราคาที่ต้องจ่ายหรือไม่ เคลียร์ให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจติดตั้งที่ชาร์จรถ EV สำหรับใช้ที่บ้าน ไดเร็ค เอเชีย (DirectAsia)ประกันรถยนต์ ที่รู้ใจรถทุกคัน แม้แต่รถ EV พร้อมช่วยทุกคนแล้ว

DA_Banner_02

ติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน ราคาประมาณไหน ต้องติดตั้งอะไรบ้าง

สำหรับการติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน สิ่งสำคัญที่ต้องมีเป็นอันดับแรกเลยก็คือ ที่ชาร์จรถ EV หรือ EV Charger ซึ่งราคาปัจจุบันส่วนใหญ่จะอยู่ที่ราว ๆ หลักหมื่น ตั้งแต่ 15,000 ต้น ๆ ไปจนถึงราคาหลักแสนก็มี ขึ้นอยู่กับแบรนด์ ขนาด รวมถึงความสามารถพิเศษที่เป็นฟังก์ชันติดมาพร้อมกับตัวเครื่อง 

ต่อมาคุณควรติดตั้งมิเตอร์แยก ขนาด 3-Phase 15(45)A หรือ Single-Phase 30 (100)A สำหรับใช้ในการชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์โดยเฉพาะ เพื่อป้องกันปัญหาไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งนั่นอาจหมายถึงค่าใช้จ่ายในการติดตั้งมิเตอร์เพิ่มเติมอีกด้วย โดยเฉพาะหากคุณอาศัยอยู่ในพื้นที่ดูแลของการไฟฟ้านครหลวง ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ

ในส่วนของค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนที่ใช้ชาร์จรถ EV ก็ถือว่าคุ้มราคามากทีเดียว หากคุณเลือกติดตั้งที่ชาร์จรถที่บ้าน สมมติว่ารถไฟฟ้า EV ที่คุณใช้มีความจุของแบตเตอรี่อยู่ที่ 80 kWh โดยค่าไฟอยู่ที่หน่วยละ 4 บาท ดังนั้นเท่ากับว่าการชาร์จแบตเตอรี่รถเต็ม 1 ครั้ง คุณจะจ่ายเงินเพียง 320 บาทเท่านั้น (80 kWh x 4 บาท/หน่วย)

ค่าใช้จ่ายนี้เมื่อนำไปเทียบกับการเติมน้ำมันรถแต่ละครั้งแล้ว จะมีส่วนต่างค่าใช้จ่ายน้อยกว่าประมาณ 3 – 4 เท่าเลยทีเดียว

เทียบข้อดี การใช้บริการชาร์จรถที่สถานี VS ติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน 

หากเปรียบเทียบแล้ว การติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านย่อมคุ้มค่ากว่าในระยะยาว เพราะประหยัดทั้งเงินและเวลาในการรอรถชาร์จแบตเตอรี่จนเต็ม คุณสามารถชาร์จแบตเตอรี่ที่บ้านให้เต็มก่อนออกเดินทาง ทำให้สามารถเดินทางได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องกังวลว่าจะหาสถานีชาร์จรถระหว่างทางได้หรือไม่ เหมาะสำหรับผู้ใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า EV เดินทางระยะใกล้อยู่เป็นประจำ

ในขณะเดียวกันการเลือกชาร์จที่สถานีจะเป็นผลดีต่อผู้ที่ไม่ได้มีความจำเป็นต้องใช้รถ EV บ่อย เช่น ใช้รถ EV เป็นรถคันที่ 2 หรือใช้เป็นคันสำรอง เนื่องจากคุณจะได้ไม่ต้องเสียเงินซื้อที่ชาร์จมาติดบ้าน ทั้งที่ไม่รู้ว่าจะได้หยิบออกมาใช้เมื่อไหร่ รวมถึงเป็นผลดีต่อผู้ที่ต้องการความเร็วในการชาร์จแบตเตอรี่รถไฟฟ้า เนื่องจากสถานีชาร์จรถ EV จะมีตู้ชาร์จระบบ DC ซึ่งเป็นไฟฟ้ากระแสตรงให้บริการอีกด้วย สามารถชาร์จได้ไวโดยใช้เวลาเพียง 30 – 40 นาทีเท่านั้น

นอกจากนี้หากเลือกช่วงเวลาชาร์จรถที่สถานีแบบ Off-Peak คือช่วงระหว่าง 22.00 – 09.00 น. มาชาร์จไฟรถ ก็อาจทำให้คุณได้ชาร์จแบตเตอรี่ในราคาที่ถูกลงก็เป็นได้

DA_Banner_04

สรุปได้ว่า การชาร์จรถที่บ้านและที่สถานีชาร์จมีข้อดีที่ต่างกัน แม้การประเมินค่าใช้จ่ายจะค่อนข้างยากต่อการระบุจำนวนตัวเลขที่แน่นอน เพราะขึ้นอยู่กับสมรรถนะของรถแต่ละรุ่นซึ่งมีความจุของแบตเตอรี่ที่ต่างกัน รวมถึงค่าไฟต่อหน่วยในแต่ละพื้นที่ หากมองในแง่ความสะดวก ชาร์จเร็วทันใจ การชาร์จที่สถานีชาร์จรถไฟฟ้า EV อาจได้คะแนนนำในเรื่องนี้ แต่หากเป็นแง่ของการควบคุมค่าใช้จ่ายระยะยาว การชาร์จรถไฟฟ้า EV ที่บ้านก็ยังครองตำแหน่งเจ้าแห่งความประหยัดที่สุดอยู่ดี ไดเร็ค เอเชีย (DirectAsia) เข้าใจดีว่าการเซฟเงินสำคัญแค่ไหนในยุคเศรษฐกิจเช่นนี้ เช่นเดียวกับการเซฟชีวิตและทรัพย์สินของคุณและทุกคนที่คุณรักด้วยประกันรถยนต์ที่ครอบคลุมและดูแลอย่างใส่ใจ

สำหรับท่านใดที่สนใจ ประกันรถไฟฟ้า EV ชั้น 1 ที่คุ้มครองความเสียหายทั้งตัวรถ แบตเตอรี่ อุปกรณ์ชาร์จไฟฟ้า ผู้ขับ คู่กรณี และไม่ว่าจะรถหาย ไฟไหม้ หรือน้ำท่วม ก็คุ้มครองสูงสุดถึง 10 ล้านบาท แถมไม่มีค่าเสียหายส่วนแรก เบี้ยเริ่มต้นเพียง ฿2,XXX/เดือน พร้อมสิทธิ์ ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน

*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด

DA_Banner_EV_05

บทความที่เกี่ยวข้อง

สอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้าน ประกันรถยนต์ โทรฯ 02 767 7777 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม คลิก https://www.directasia.co.th/

ทิปส์ & ทริคส์การใช้รถใช้ถนนติดตั้งอุปกรณ์ชาร์จรถไฟฟ้า EV ที่บ้านใช้เงินเท่าไหร่ ?