ในการขับขี่รถยนต์ให้ปลอดภัย นอกจากการดูแลรักษาเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพดีแล้ว การหมั่นตรวจสอบสภาพและดูแล ยางรถยนต์ ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เนื่องจากยางรถยนต์เป็นชิ้นส่วนเดียวของรถที่สัมผัสกับพื้นถนน เมื่อมีการใช้งานไปนานๆ ยางก็ย่อมเกิดการสึกหรอ หากละเลยต่อไปอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ค่ะ เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถยนต์ของสมาชิก DirectAsia ทุกท่าน วันนี้เราจะพาคุณๆ ไปสำรวจและทำความรู้จักกับยางรถยนต์ให้มากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้ยางสึกหรอซึ่งเป็นหนึ่งในเทคนิคขับปลอดภัยที่ทุกท่านสามารถทำได้ง่ายๆ นอกจากนี้ยังช่วยลดโอกาสเกิดอุบัติได้อีกด้วยค่ะ
ข้อควรปฏิบัติในการดูแลยางรถยนต์
-
วัดความดันลมยาง
การเติมลมยางอ่อนกว่ามาตรฐานทำให้อายุยางสั้นลงบริเวณไหล่ยางจะเกิดความร้อนสูงและสึกหรอเร็วกว่าส่วนอื่น นอกจากนี้อาจทำให้แก้มยางฉีกขาดหรือหักได้และยังสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงอีกด้วย ส่วนการเติมลมยางมากเกินไปไม่เป็นผลดีเช่นกันเพราะรถมีโอกาสการลื่นไถลได้ง่ายและโครงยางอาจระเบิดได้ง่ายเมื่อได้รับแรงกระแทก หรือถูกตำเนื่องจากโครงยางเบ่งตัวเต็มที่เกิดการยืดหยุ่นตัวได้น้อยอายุยาง นอกจากนี้ยังทำให้ความนุ่มนวลในขณะขับขี่ลดลงอีกด้วย
-
ความดันลมยางที่เหมาะสม
พิจารณาจากขนาดและรุ่นของรถยนต์ที่สัมพันธ์กับยางที่ใช้ ซึ่งสามารถสอบถามได้จากเจ้าหน้าที่ร้านขายยางหรือช่างที่อู่ประจำของคุณ ในรถยนต์นั่งส่วนบุคลทั่วไปจะใช้ความดันลมยางเฉลี่ยที่ 26-32 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว โดยยางล้อหน้าจะมากกว่ายางล้อหลัง 3-5 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
-
ลดน้ำหนักบรรทุก
การบรรทุกน้ำหนักมากเกินไป จะทำให้มีการบิดตัวบริเวณหน้ายางที่สัมผัสพื้นผิวถนนมาก ทำให้เกิดความร้อนได้ง่ายเป็นผลให้มี การสึกหรอของเนื้อยางอย่างรวดเร็ว อายุยางก็จะสั้นลง ขอแนะนำให้ตรวจสิ่งของที่บรรทุกอยู่เสมอ หากมีมากเกินความจำเป็น เช่น น้ำเปล่าขวดลิตรที่ได้มาฟรีจากการเติมน้ำมัน บางทีก็มีมากเกินไปจนทำให้รถหนัก และยางรถสึกหรอโดยใช่เหตุ
-
ลดความเร็วในการขับ
ขณะที่รถวิ่งด้วยความเร็วสูงจะมีแรงเสียดทานและความร้อนที่เกิดขึ้นทำให้ความต้านทานต่อการสึกหรอ จึงทำให้อายุของยางลดลงตามไปด้วย จึงควรหลีกเลี่ยงการขับรถด้วยความเร็วเกินไป เพื่อถนอนอายุยางรถให้ใช้ได้นานขึ้น
-
เลี่ยงการเบรกและการออกตัวแรง
การเบรกจนล้อหยุดหมุนแล้วแรงเฉื่อยของตัวรถจะดันให้ล้อลื่นไถลไปกับพื้นถนนทำให้ยางเกิดการสึกหรอ โดยจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเร็วและระยะในการเบรก นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการออกตัวอย่างรุนแรงจนล้อหมุนฟรีเพราะหน้ายางจะเสียดสีกับพื้นถนนอย่างหนักทำให้ยางสึกหรอเร็วขึ้น
-
ตรวจสภาพรถยนต์
เช่น ช่วงล่างและศูนย์ล้อมีผลอย่างมากกับการสึกหรอที่รวดเร็ว หากระบบศูนย์ล้อผิดพลาดไปจากสเปคของรถจะทำให้เกิดแรงเสียดทานและลื่นไถลที่หน้ายางมากกว่าปกติ
-
สภาพผิวถนน
ยิ่งผิวถนนราบเรียบมากเท่าไหร่ยางก็จะยิ่งสึกหรอช้าและใช้งานได้นานขึ้นกว่าการขับรถบนถนนที่ขรุขระมากเท่านั้น เพราะความต้านทานต่อการหมุนบนถนนเรียบมีน้อยกว่า ยางรถจึงเสียดสีกับผิวถนนเพื่อเคลื่อนที่ไปข้างหน้าด้วยแรงที่น้อยกว่า นอกจากนี้ลักษณะเส้นทางก็มีผลเช่นกันการขับขี่บนทางตรงจะเกิดการสึกหรอช้ากว่าการขับขึ้นเขาหรือขับบนถนนที่คดเคี้ยว ถ้าเลือกได้จึงควรใช้เส้นทางที่ขับตรงได้มากกว่า
-
สภาพภูมิอากาศ
ยางรถยนต์มีส่วนผสมหลักเป็นยางธรรมชาติ จึงทนต่ออุณหภูมิสูงได้น้อยกว่ายางสังเคราะห์ ดังนั้นหากยางเกิดความร้อนมากขึ้นจากการใช้งานก็จะยิ่งส่งผลต่อการสึกหรอที่รวดเร็วขึ้น
เมื่อทราบปัจจัยที่ทำให้ยางสึกหรอแล้ว ขอสรุปวิธีการดูแลรักษาและการใช้ยางรถยนต์ให้ถูกต้องกันค่ะ
- ตรวจเช็คและปรับแต่งความดันลมยางให้อยู่ในค่ามาตรฐานด้วยวิธีการที่ถูกต้องเป็นประจำในขณะที่ยางยังเย็นอยู่ หรือก่อนการใช้งาน
- ไม่บรรทุกน้ำหนักมากเกินไป หากเป็นการใช้งานเพื่อบรรทุกหนัก ควรเลือกใช้ยางที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ
- ไม่ควรขับขี่ด้วยความเร็วสูงมากเกินไป เพื่อไม่ให้เกิดความร้อนในยางสูง อันเป็นสาเหตุ ให้ยางสึกหรอเร็วขึ้น
- ใช้ความเร็วในการขับขี่ที่เหมาะสม และหลีกเลี่ยงการเบรกหยุดรถอย่างกระทันหัน หรือการออกตัวอย่างรุนแรง
- ดูแลรักษาศูนย์ล้อและระบบช่วงล่างอย่างสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงถนนที่มีสภาพทุรกันดาร ขรุขระ มีหลุมบ่อ หากต้องขับขี่บนถนนดังกล่าว ควรเลือกใช้ดอกยางให้ถูกประเภท และลดความเร็วในการขับขี่ลง
นอกจากจะประหยัดค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์กับ DirectAsia.com แล้ว การรักษายางรถยนต์ให้ใช้ได้นานขึ้นก็นับว่าเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายหลักเกี่ยวกับรถยนต์อีกข้อที่สำคัญเช่นกัน
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องประกันรถยนต์พร้อมเช็คราคา ประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันรถยนต์ 2+, ประกันรถยนต์ 3+, ประกันชั้น 2, และประกันชั้น3 คลิกเว็บไซต์ https://www.directasia.co.th หรือสอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันภัยรถยนต์ โทร 02-767-7777
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด
อ้างอิง:ยางสำหรับรถยนต์นั่งและรถกระบะ