What can we help you with?

พรบ รถยนต์ คืออะไร? หมายถึงอะไร สำคัญยังไง?

พรบ รถยนต์ คืออะไร หมายถึงอะไร ตัวอย่าง พรบ รถยนต์

พรบ รถยนต์ หมายถึง อะไร?

ทุกคนคงเคยได้ยินคำว่า พรบ บ่อยๆ หลายคนก็สงสัยว่าคือไรกันแน่ แล้วทำไม่เราต้องทำ พรบ มันมีความสำคัญยังไง วันนี้เรามีคำตอบมาฝากทุกคน

พรบ รถยนต์ คือ การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ซึ่งกฏหมายบังคับให้รถทุกคันต้องทำประกัน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายบังคับให้รถยนต์ทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกต้องทำ เพื่อความคุ้มครองกับตัวบุคคลที่ได้รับจากอุบัติเหตุได้อย่างทันท่วงที โดยไม่คำนึงว่าบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุเหล่านั้นเป็นผู้ที่กระทำความผิดหรือไม่ ซึ่งกฎหมายให้ความคุ้มครองคู่กรณีและผู้เอาประกันภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุในรูปแบบของเงินชดเชย

ความสำคัญของ พ.ร.บ. รถยนต์ จึงอยู่ที่การให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับบุคคลเท่านั้น ความหมายก็คือ ให้ความคุ้มครอง “คน” ไม่ใช่ “รถ”

พ.ร.บ. รถยนต์ ย่อมาจากอะไร

พ.ร.บ. ย่อมาจากคำว่า พระราชบัญญัติ ซึ่ง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จะเป็นกฎหมายที่บังคับให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกจะต้องมีไว้เป็นหลักประกันให้กับคนในรถทุกคัน หรือผู้ที่ใช้รถใช้ถนน

พ.ร.บ. รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง

ซึ่งวงเงินคุ้มครองจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นโดยไม่รอผลพิสูจน์ความรับผิด เมื่อเกิดอุบัติเหตุจากรถ และรถคันที่เกิดอุบัติเหตุมีประกันภัย พ.ร.บ. บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน ภายใน 7 วัน สำหรับวงเงินคุ้มครอง มีดังนี้

  • 1. ค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน 30,000 บาท
  • 2. ค่าทุพพลภาพ / สูญเสียอวัยวะหรือค่าปลงศพตาม
  • 1, 2 รวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาทในชั้นต้น 35,000 บาท

หมายเหตุ ค่าเสียหายเบื้องต้น สำหรับค่ารักษาพยาบาลให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยในการจ่ายค่ารักษาพยาบาล แก่ผู้ประสบภัยจากรถ เรื่อง มาตรฐานกลางของรายการ และจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่บริษัทประกันภัย หรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ต้องจ่ายให้กับผู้ประสบภัยจากรถ(ประกาศใช้ 1 ตุลาคม 2547)

ค่าสินไหมทดแทนสูงสุด (รวมค่าเสียหายเบื้องต้น) หมายถึง ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายต่อชีวิต – ร่างกายของผู้ประสบภัยจากรถที่บริษัทประกันภัยต้องจ่ายเมื่ออุบัติเหตุจากรถนั้นเป็นความผิดของผู้ขับขี่รถที่เอาประกันภัย

  • กรณีบาดเจ็บ จ่ายค่ารักษาพยาบาล สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท/คน
  • กรณีเสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร จ่าย 300,000 บาท/คน
  • กรณีสูญเสียอวัยวะ (เป็นไปตามเงื่อนไขตามอัตราที่กำหนด) จ่าย 200,000 - 300,000 บาท/คน
  • กรณีนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) จ่ายค่าชดเชย 200 บาท / วัน สูงสุดไม่เกิน 20 วัน

หมายเหตุ : (ผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด จะได้รับความคุ้มครอง เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น) (ที่มา : บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด)

ตัวอย่าง พรบ รถยนต์ คือใบไหน เป็นแบบไหน

พรบ คือใบไหน พร บ รถยนต์ เป็น แบบไหน

ไม่ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ได้ไหม

หากไม่ทำ พ.ร.บ. ก็จะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ และมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท ข้อสำคัญควรพกหลักฐานการทำ พ.ร.บ. เอาไว้ในรถด้วยเสมอ เพื่อแสดงหลักฐานกับเจ้าหน้าที่ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น การทำ พ.ร..บ. แนะนำว่าให้ทำกับบริษัทประกันภัยรถยนต์เดียวกันเพื่อความสะดวกเวลาที่เกิดอุบัติเหตุ การยื่นเอกสารต่างๆ สามารถทำได้พร้อมกันต่อเนื่องทันที โดยไม่เสียเวลารอไปมา

การทำ พ.ร.บ. มีให้เลือกหลายหลาย ทั้งทำกับบริษัทประกันภัยรถยนต์ หรือไปทำได้ที่กรมขนส่งทั่วประเทศ หรือต่อทางอินเทอร์เน็ตได้เว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบกก็สะดวก

สอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันภัยรถยนต์  โทร 02-767-7777 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมเช็คเบี้ยประกันรถยนต์ทั้งประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันชั้น 1 เซฟ, ประกันรถยนต์ 2+ , ประกันรถยนต์ 3+ , ประกันชั้น 2 , และ ประกันชั้น 3 คลิก https://www.directasia.co.th/

*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด

DirectAsia เช็คเบี้ยประกันรถยนต์ชั้น 1