พระในรถ องค์ไหนที่คนนิยมบูชา พร้อมวิธีวางพระในรถที่ถูกต้อง
คนไทยกับความเชื่อและความศรัทธาเป็นของคู่กัน โดยเฉพาะคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธซึ่งมักจะนำความเชื่อเข้ามาประกอบรวมในชีวิตประจำวันได้อย่างลงตัว เริ่มตั้งแต่การวางศาลพระภูมิหน้าบ้าน การประดิษฐานพระพุทธรูปไว้ในบ้านพักอาศัย ไปจนถึงการวางพระในรถ ก็เป็นสิ่งที่นิยมเห็นได้ทั่วไปเช่นกัน โดยในครั้งนี้ ‘ไดเร็ค เอเชีย (DirectAsia)’ ประกันรถยนต์ ของคนไทย จะขอหยิบยกเรื่องการวางพระในรถมาเล่าสู่กันฟัง ให้คุณได้ทั้งสาระความรู้ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริง
สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มมีรถและอยากบูชาพระพุทธรูปไปวางตั้งไว้ในรถจะได้มีแนวทางว่าควรนำพระองค์ไหนไปตั้ง รวมถึงคนที่เคยมีรถมาก่อนอยู่แล้ว จะได้รีเช็กความเข้าใจด้วยว่าเราวางพระพุทธรูปในตำแหน่งที่เหมาะที่ควรแล้วหรือไม่ รวมถึงแนะนำจุดที่ควรวางและไม่ควรวาง เพื่อการเดินทางโดยสวัสดิภาพตลอดเส้นทางของทุกคน
5 พระเครื่องนิยมบูชาในรถตามความเชื่อ
ไดเร็ค เอเชีย ต้องขอย้ำอีกรอบก่อนว่าเรื่องของการวางพระพุทธรูปในรูปไว้ในรถนั้น เป็นเพียงการบูชาตามความเชื่อและความศรัทธาเท่านั้น หากใครทำแล้วสบายใจ ไม่ไปเดือดร้อนใครก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีและน่าทำ โดยก่อนจะถึงเวลาออกรถทุกครั้ง ผู้ขับขี่ก็ควรได้ระลึกถึง ยกมือไหว้ และตั้งจิตอธิษฐานว่าขอให้การเดินทางปลอดภัยและราบรื่น ซึ่งพระรุ่นที่ผู้คนนิยมบูชาไว้ในรถเพราะเชื่อว่าจะช่วยคุ้มครองให้แคล้วคลาดปลอดภัย ได้แก่
- หลวงปู่ทวด
- หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ
- หลวงพ่อโสธร ฉะเชิงเทรา
- พระผงวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
- หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
วิธีวางพระในรถที่ถูกต้อง ให้แคล้วคลาดคุ้มครองตามตำรา
ได้ทราบกันไปแล้วว่ามีพระรุ่นไหนบ้างที่คนมีรถนิยมบูชาติดรถ ซึ่งเจ้าของรถคนไหนที่ศรัทธาก็สามารถหามาบูชาตามกำลังทรัพย์ของตนได้ ลำดับต่อมา สิ่งที่จะไม่พูดถึงไม่ได้หลังมีองค์พระไว้ในรถก็คือเทคนิคในการวางพระให้ถูกตำแหน่งนั่นเอง โดยมีข้อแนะนำให้ปฏิบัติ ดังนี้
ไม่วางพระพุทธรูปที่คอนโซลรถด้านที่นั่งผู้โดยสาร
จุดประสงค์หลักก็คือ เพื่อลดโอกาสที่พระพุทธรูปจะไปบดบังทัศนวิสัยและการมองเห็นภายนอก รวมถึงระยะสายตาของผู้ขับขี่ไม่ควรมีอะไรมากั้น เพราะอาจจะยากต่อการมองเห็นด้านหน้าซ้ายของตัวรถได้ หรือหากต้องการวางจริง ๆ แนะนำให้วางที่ตำแหน่งตรงกลาง โดยพระพุทธรูปที่เลือกนำมาวางนั้นควรมีขนาดเล็กพอดี ไม่ใหญ่จนเกินไป เช่น พระเครื่อง หรือพระที่มีขนาดใหญ่กว่านั้นไม่มาก
วางพระโดยหันหน้าพระเข้าหาผู้ขับขี่
สำหรับองศาหน้าในการวางพระพุทธรูปนั้น ไม่มีคำตอบจากที่ใดสามารถนำมาใช้ยืนยันได้ เพราะเรื่องทั้งหมดนี้ไม่เคยมีกฎในการปฏิบัติที่แน่ชัด โดยคุณสามารถวางได้ตามความศรัทธาของคุณ เพียงแต่ว่าขนาดของพระพุทธรูปควรจะมีขนาดไม่ใหญ่มาก หรือเป็นขนาดพระเครื่อง ซึ่งคนส่วนใหญ่จะนิยมหันหน้าพระเข้าหาผู้ขับขี่ เนื่องจากเชื่อว่าจะช่วยเตือนสติของผู้ขับขี่ได้เป็นอย่างดี
หลีกเลี่ยงการแขวนที่กระจกมองหลัง
เจ้าของรถหลายคนอาจเลือกการแขวนพระที่กระจกมองหลัง ซึ่งสามารถทำได้หากพระนั้นมีขนาดเล็กหรือมีน้ำหนักเบา เพราะการแขวนวัตถุให้ลอยในอากาศเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังอย่างมาก โดยเฉพาะรถยนต์ที่มีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา ยิ่งจังหวะรถเบรกหรือกระแทกตอนลงสะพาน หากแขวนพระที่มีน้ำหนัก ก็อาจเสี่ยงให้พระที่แขวนนั้นกระแทกกระจกแตกได้
งดวางพระที่ตำแหน่งพวงมาลัย
ปัจจุบันรถหลายรุ่นมีการทำถุงลมนิรภัยที่ตำแหน่งพวงมาลัยคนขับ รวมถึงที่คอนโซลรถด้านหน้า ซึ่งผู้ขับขี่บางรายอาจเห็นว่าสามารถนำพระพุทธรูปเล็ก ๆ หรือเหรียญขนาดเล็กไปติดไว้ได้ แต่ไดเร็ค เอเชีย ไม่แนะนำให้ทำเช่นนั้นเด็ดขาด เพราะหากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมา ถุงลมนิรภัยที่ทำงานอาจจะดันพระที่ติดไว้กระเด็นมากระแทกคุณได้ จนอาจได้รับบาดเจ็บโดยไม่ตั้งใจ
วางพระที่ด้านหลัง
ความศรัทธาขึ้นอยู่ที่ใจใช่ที่วาง ดังนั้นหากใครไม่สะดวกวางพระพุทธรูปที่ด้านหน้ารถก็สามารถวางที่ด้านหลังรถได้ เช่น บริเวณลำโพงด้านหลังของรถยนต์ อีกนัยหนึ่งคือเพื่อป้องกันทรัพย์สินในรถ เพราะการวางพระที่มีมูลค่าสูงไว้ด้านหน้ารถนั้น อาจกลายเป็นความเสี่ยงที่จะถูกโจรกรรมได้ง่ายอีกด้วย
หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านของเราไม่มากก็น้อย แต่ใด ๆ ก็ตามแม้จะมีพระพุทธรูปอิทธิฤทธิ์แรงเพียงไหน ก็ไม่สู้การขับขี่ที่ปลอดภัยของคุณ ควรขับอย่างมีสติ มีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมทาง เพื่อให้ทุกคนได้ไปถึงจุดหมายปลายทางอย่างราบรื่นนั่นเอง
พระในรถอาจช่วยเพิ่มความปลอดภัยทางจิตใจให้คุณได้ แต่หากต้องการเพิ่มความอุ่นใจในแบบที่จับต้องได้ ไดเร็ค เอเชีย เรามีประกันรถยนต์คอยให้บริการ โดยคุณสามารถเลือกปรับเปลี่ยนความคุ้มครองได้ตามสไตล์การขับขี่ไปจนถึงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต สามารถเลือกซื้อประกันชั้นต่างๆ ของเราได้ด้านล่าง ผ่อนสบาย