ไฟไหม้สำเพ็ง รถไฟไหม้ ได้สิทธิ์คุ้มครองอะไรบ้าง
- "ไฟไหม้สำเพ็ง" มีสาเหตุจากอะไร
- ไฟไหม้สำเพ็ง ไฟไหม้อาคาร ใครรับผิดชอบ
- สิทธิ์ขั้นพื้นฐานที่ประชาชนจะได้รับ
- แนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้
จากเหตุการณ์ไฟไหม้ล่าสุดในใจกลางกรุงเทพมหานคร "ไฟไหม้สำเพ็ง" เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต ผู้ได้รับบาดเจ็บ อาคาร และรถยนต์ได้รับความเสียหายอยู่ไม่น้อง บล็อกนี้ DirectAsia มาบอกสิทธิ์ประกันรถยนต์ที่คุ้มครองรถไฟไหม้ล่าสุด และสิทธิ์ประกัน พ.ร.บ. ที่ประชาชนควรรู้ รวมถึงวิธีการเอาตัวรอดจากสถานการณ์ไฟไหม้เบื้องต้น ไปอ่านกัน
"ไฟไหม้สำเพ็ง" มีสาเหตุจากอะไร
สาเหตุของเพลิงไหม้ เจ้าหน้าที่คาดการณ์ว่ามาจากหม้อแปลงไฟระเบิด และเกิดลุกลามไปในตัวอาคาร รวมถึงมีสายไฟ และสายสื่อสารจำนวนมากที่อาจมีส่วนให้ไฟลุกลาม ประกอบกับวัสดุในอาคารเป็นเชื้อเพลิง จึงทำให้ไฟลามไปอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้ ยังมีรายงานผู้เสียชีวิต 2 ราย เป็นแรงงานข้ามชาติ 1 ราย คนไทย 1 ราย ผู้บาดเจ็บ 11 ราย เป็นทั้งเจ้าหน้าที่ และประชาชน นำส่งรักษาตัวที่โรงพยาบาลหัวเฉียว 7 ราย และโรงพยาบาลกลาง 4 ราย มีรถประชาชนที่จอดได้รับความเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้ จำนวน 3 คัน และรถจักรยานยนต์เสียหายอีก 1 คัน
ไฟไหม้สำเพ็ง ไฟไหม้อาคาร ใครรับผิดชอบ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเหตุไฟไหม้ครั้งนี้ มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายภาคส่วน ทั้งในส่วนกลาง ภาครัฐ ในการดูแลหม้อแปลง และสายสื่อสารที่อยู่นอกอาคาร จึงต้องตรวจสอบในเรื่องของกฎหมายเสียก่อน ว่าใครต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
ในส่วนของอาคาร ทางฝ่ายโยธาเขตฯ จะเข้าตรวจสอบ และสำรวจเรื่องความแข็งแรงของโครงสร้างอาคาร เนื่องจากอาคารมีการยุบตัวขณะเพลิงไหม้ อีกทั้งผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า จะมีการหารือร่วมกับการไฟฟ้านครหลวง ทั้งเรื่องไฟแสงสว่าง ความปลอดภัยบนท้องถนน รวมถึงเรื่องความปลอดภัยของหม้อแปลงไฟ และสายสื่อสารที่อยู่รวมกับเสาไฟฟ้า โดยถือเป็นหน้าที่การไฟฟ้าต้องช่วยดูด้วยเพราะเป็นความรับผิดชอบโดยตรง
สิทธิ์ขั้นพื้นฐานที่ประชาชนจะได้รับ
-
ความคุ้มครองจากประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
กรณีที่ทำประกันรถยนต์ไว้จะได้รับความคุ้มครองจากบริษัทประกันที่ทำอยู่ โดยขึ้นอยู่กับว่าทำประกันรถยนต์ชั้นใด เพราะประกันรถยนต์แต่ละชั้นให้ความคุ้มครองที่แตกต่างกัน
สำหรับผู้เสียหายที่ได้ทำประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันชั้น 1 เซฟ, ประกันชั้น 2+ หรือประกันรถยนต์ชั้น 2 เจ้าของกรมธรรม์จะได้รับความคุ้มครองต่อตัวรถยนต์กรณีสูญหาย หรือไฟไหม้ โดยบริษัทประกันจะเรียกค่าเสียหายจากคู่กรณี และชดเชยค่าเสียหายตามที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องรอเจ้าหน้าที่พิสูนจ์หลักฐาน ความเสียหาย และต้นสายปลายเหตุของเหตุการณ์เสียก่อน ถึงจะทราบได้ว่าผู้ที่ต้องรับผิดชอบจะเป็นฝ่ายใด
กรณีผู้เอาประกันภัยรถยนต์เสียชีวิต จะได้รับความคุ้มครองจากบริษัทประกันภัยรถยนต์ไม่ว่าจะทำประกันรถยนต์ชั้นใดก็ตามโดยสิทธิ์ที่จะได้รับจากประกัน มี 4 อย่าง ได้แก่
- ค่ารักษาพยาบาล ส่วนที่เกินวงเงินจาก พ.ร.บ. รถยนต์
- ค่าทนทุกข์ทรมาน จากการบาดเจ็บ
- ค่าทรัพย์สินที่เสียหาย หรือสูญหายในขณะเกิดอุบัติเหตุ
- ค่าเสียหายอื่น ๆ เช่น ค่าขาดโอกาสในการเดินทาง ทำงาน ค่าขาดไร้อุปการะ และค่าขาดรายได้ เป็นต้น
-
ความคุ้มครองจากพ.ร.บ.
คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น
ผู้ประสบภัย ไม่ว่าจะเป็น ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือคนเดินเท้า จะได้รับความคุ้มครอง เป็นค่ารักษาพยาบาลในกรณีบาดเจ็บ และค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด ซึ่งบริษัทประกันจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัย หรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัย ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่บริษัทได้รับคำร้องขอ เป็นจำนวนเงินดังนี้
- ค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท/คน
- กรณีผู้ประสบภัยสูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต จะได้รับค่าชดเชยจำนวน 35,000 บาท/คน
- กรณีผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บ และต่อมาได้สูญเสียอวัยวะ จะได้รับค่าชดเชยรวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาท/คน
- กรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิตหลังจากเข้ารักษาพยาบาล จะได้รับค่าชดเชยไม่เกิน 65,000 บาท/คน
คุ้มครองค่าสินไหมทดแทน
เป็นค่าเสียหายที่นอกเหนือจากค่าเสียหายเบื้องต้น โดยบริษัทประกันจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน ในกรณีผู้ประสบภัยได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูก จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนเงินดังนี้
- ค่ารักษาพยาบาลและค่าเสียหายอย่างอื่นที่ผู้ประสบภัย สามารถเรียกร้องได้ไม่เกิน 80,000 บาท/คน
- สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร บริษัทประกันจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 200,000 – 500,000 บาท/คน
- กรณีเสียชีวิต บริษัทประกันจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 500,000 บาท/คน
- ในกรณีที่เข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน บริษัทจะจ่ายค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท จำนวนรวมกันไม่เกิน 20 วัน
แนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้
- ตั้งสติแล้วรีบออกมาจากที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุด
- พยายามหลีกเลี่ยงการสูดควั เพราะอาจทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน ทั้งยังได้รับสารเคมี ที่อาจเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ
- ให้นำผ้าชุบน้ำปิดปากปิดจมูก หรือหาผ้าห่มชุบน้ำแล้วห่มตัว จากนั้นรีบหาทางออกจากที่เกิดเหตุ
- หากอยู่ในห้อง อย่าเพิ่งรีบเปิดประตู ควรจับประตูก่อนเพื่อดูว่าร้อนหรือไม่ หากรู้สึกร้อนนั่นหมายถึงอาจมีไฟอยู่หลังประตู จึงไม่ควรเปิดเพราะจะทำให้ควันไฟเข้าห้อง ควรหาผ้าหรืออื่น ๆ มาอุดตรงประตู เพื่อป้องกันไม่ให้ควันไฟเข้าห้อง
- หากติดอยู่ในห้องพยายามส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ เช่น ส่องไฟมือถือออกไปทางหน้าต่าง เพื่อให้ภายนอกรู้ว่ามีคนต้องการความช่วยเหลือภายในห้อง
- หลีกเลี่ยงการใช้ลิฟต์ ควรใช้บันไดหนีไฟแทน
- หลีกเลี่ยงการวิ่งหนีไปในที่ที่เป็นจุดอับ
- ระหว่างหาทางออกจากที่เกิดเหตุ หากมีควันมากพยายามก้มต่ำหรือคลาน เพราะออกซิเจนจะลอยอยู่ที่ต่ำ
หากประชาชนต้องการความช่วยเหลือ หรือแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย สามารถแจ้งมายังคอลเซ็นเตอร์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่เบอร์ 191 และ 1599 หรือศูนย์รับแจ้งเหตุเพลิงไหม้ 199 หรือสายด่วนนิรภัย 1784 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
สอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันภัยรถยนต์ โทร 02-767-7777 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมเช็คเบี้ยประกันรถยนต์ทั้งประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันชั้น 1 เซฟ, ประกันรถยนต์ 2+ , ประกันรถยนต์ 3+ , ประกันชั้น 2 , และ ประกันชั้น 3 คลิก https://www.directasia.co.th/
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด