หลายคนอาจไม่เคยนึกสงสัย หากคนใกล้ชิดหรือคนในครอบครัวเสียชีวิตจะทราบได้อย่างไรว่าผู้เสียชีวิตได้ทำประกันไว้หรือไม่ จนกระทั่งถึงเวลาต้องจัดการธุระต่าง ๆ ใช่ไหมล่ะครับ และคำถามต่อมาคือจะแจ้งเคลมประกันได้อย่างไร?
พี่กู๊ดรวบรวมข้อมูลจากคปภ.และนำมาแบ่งปันให้ทุกคนได้คลายความสงสัยกันแล้วครับ
วิธีตรวจสอบกรมธรรม์ประกันของผู้เสียชีวิต
นอกเหนือจากการจัดการเรื่องทรัพย์สมบัติ หรือกองมรดกแล้ว สิ่งที่ญาติหรือผู้ใกล้ชิดอาจได้สิทธิ์รับช่วงต่อก็คือภาระหนี้สินนั่นเองครับ คุณจึงควรทราบก่อนว่ามีผลประโยชน์จากการทำประกันที่ผู้เสียชีวิตได้ทำไว้หรือไม่ ซึ่งสามารถรับรู้ได้หลายวิธีด้วยกัน ดังต่อไปนี้ครับ
-
กรณีที่ทราบว่าผู้เสียชีวิตทำประกันชีวิตอะไร ที่ไหนบ้าง
ญาติหรือคนใกล้ชิดจะต้องนำบัตรประจำตัวผู้เอาประกัน และกรมธรรม์ประกันไปติดต่อบริษัทประกันที่ผู้เสียชีวิตได้ทำไว้ เพื่อเช็คสถานะของประกันว่ายังอยู่ในสถานะปกติหรือไม่ และผู้รับผลประโยชน์ที่ถูกระบุไว้ในกรมธรรม์คือใคร ก็ให้แจ้งกับเจ้าตัวเพื่อดำเนินการต่อไปครับ
-
บริษัทประกันชีวิตจะดำเนินเรื่องเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต
เมื่อบริษัทประกันได้รับการแจ้งจากโรงพยาบาล หรือสถานีตำรวจว่าผู้ที่เสียชีวิตหรือผู้เอาประกันได้เสียชีวิตแล้ว บริษัทจะทำการเช็ครายละเอียดของกรมธรรม์ และติดต่อผู้รับผลประโยชน์ที่ผู้เอาประกันได้ระบุชื่อไว้
-
ตรวจสอบกรมธรรม์ประกันชีวิตผ่านสำนักงาน คปภ.
ญาติหรือคนใกล้ชิดสามารถยื่นคำร้องขอตรวจสอบกรมธรรม์ได้ที่สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) หรือโทร 1186 ครับ โดยเตรียมเอกสารประกอบคำร้องให้พร้อม ได้แก่ ใบมรณบัตร สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีส่วนได้เสีย และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีส่วนได้เสีย หลังจากนั้นรอคปภ.ตรวจสอบภายใน 2-3 สัปดาห์ เพื่อแจ้งว่าผู้เสียชีวิตมีประกันหรือไม่ ทำไว้ที่ไหนบ้าง และแจ้งเลขกรมธรรม์ให้กับผู้ร้อง ญาติหรือผู้ใกล้ชิดสามารถนำเลขกรมธรรม์ของผู้เสียชีวิตไปติดต่อบริษัทประกันชีวิตเพื่อดำเนินการแจ้งเคลมประกันครับ
เมื่อตรวจสอบตามขั้นตอนที่ได้กล่าวไปข้างต้นเป็นที่เรียบร้อย ก็จะทราบว่าใครคือผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์ ให้ติดต่อทำเรื่องขอเคลมประกันได้เลยครับ
เอกสารเพื่อขอเคลมประกันชีวิต
- ใบมรณบัตรต้นฉบับ
- ทะเบียนบ้านต้นฉบับของผู้เอาประกัน ซึ่งต้องมีการประทับตรา “ตาย” เรียบร้อยแล้ว
- บัตรประชาชนต้นฉบับของผู้เอาประกัน
- ทะเบียนบ้านต้นฉบับของผู้รับประโยชน์
- บัตรประชาชนต้นฉบับของผู้รับประโยชน์
- กรมธรรม์ประกันชีวิต
- สำเนาบันทึกประจำวันที่ออกโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ (กรณีที่เสียชีวิตจากสาเหตุอื่น)
- แบบฟอร์มเรียกร้องสินไหมมรณกรรม
แต่หากตรวจสอบแล้วพบว่าผู้รับประโยชน์ได้เสียชีวิตไปในระหว่างที่ประกันยังให้ความคุ้มครองอยู่ โดยผู้เอาประกันไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้รับประโยชน์ใหม่แต่อย่างใด จนกระทั่งผู้เอาประกันได้เสียชีวิตลง กรณีเช่นนี้เงินค่าสินไหมทดแทนจะตกเข้ากองมรดกครับ และจะดำเนินการต่อไปตามข้อกฎหมาย
แต่ผู้รับมรดกอย่าเพิ่งวางใจไปนะครับ อย่างที่บอกไปว่ามีผลประโยชน์ที่จะได้รับแล้ว ยังต้องพิจารณาอีกด้วยว่ายังมีภาระหนี้สินที่ต้องจัดการอีกไหม แล้วผู้ค้ำประกันจะต้องมีหน้าที่จ่ายหนี้สินหรือไม่ อันนี้ตอบได้เลยครับว่าไม่เกี่ยวกับผู้ค้ำประกัน เพราะภาระหนี้ไม่ว่าจะสถาบันการเงินใดก็ตาม ผู้รับมรดกจะเป็นผู้รับไปทั้งสิทธิและหน้าที่จัดการหนี้สินครับ
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ขับรถชนสัตว์ หรือสัตว์ชนจนรถเสียหาย สามารถเคลมประกันได้ไหม?
- ระวัง! จอดรถไว้นาน มีอะไรบ้างที่จะพัง
- ซื้อรถมือสอง ทำไมต้องโอนประกันรถยนต์
สอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้าน ประกันรถยนต์ โทรฯ 0-2767-7777 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมพร้อม เช็คราคาประกันรถยนต์ ทั้ง ประกันชั้น 1, ประกันชั้น 1 เซฟ, ประกันชั้น 2+, ประกันชั้น 3+, ประกันชั้น 2, และ ประกันชั้น 3 คลิก https://www.directasia.co.th
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด
แหล่งข้อมูล: สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย