วิธีต่อภาษีรถยนต์เกิน 7 ปี ผ่านทางออนไลน์ ใช้อะไรบ้าง
หลาย ๆ คนคงกำลังมองหา วิธีต่อภาษีรถยนต์เกิน 7 ปี กันอยู่ว่า ต่อภาษีรถยนต์ใช้อะไรบ้าง เสียค่าใช้จ่ายเท่าไร เงื่อนไขแตกต่างจากรถอายุน้อยอย่างไร เพราะปีก่อนหน้าก็สามารถต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้ตามปกติ แต่ถ้าต้องมาต่อภาษีรถยนต์เกิน 7 ปี ต้องทำอย่างไร ‘ไดเร็ค เอเชีย (DirectAsia)’ หาข้อมูลมาให้คุณแล้ว
ต่อภาษีรถยนต์เกิน 7 ปี ต่างจากรถอายุน้อยอย่างไรบ้าง?
การต่อภาษีรถยนต์เกิน 7 ปี มีความแตกต่างจากรถอายุน้อย เนื่องจากการต่อภาษีรถยนต์ที่อายุเกิน 7 ปี (นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียน/วันได้ป้ายขาว) ต้องนำรถไปตรวจสภาพรถที่ ตรอ. หรือสถานตรวจสภาพรถเอกชน ก่อนดำเนินการต่อภาษีรถยนต์
ต่อภาษีรถยนต์เกิน 7 ปี ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?
- สมุดคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ (ตัวจริงหรือสำเนา)
- หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ (ตรอ.)
- พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ที่ยังไม่หมดอายุ (นับจากวันที่ต่อภาษีรถ)
- เอกสารรับรองการติดแก๊ส (สำหรับรถยนต์ที่ติดตั้งระบบแก๊ส)
วิธีต่อภาษีรถยนต์เกิน 7 ปี ผ่านทางออนไลน์
- เข้าสู่เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th
- กด ‘เข้าสู่ระบบ’ หรือ ‘ลงทะเบียนสมาชิกใหม่’ สำหรับผู้ใช้งานครั้งแรก
- กด ‘ชำระภาษีรถประจำปี’ เลือก ‘ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเทอร์เน็ต’
- กรอกข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับรถให้ครบถ้วน
- กด ‘ยื่นชำระภาษี’ (สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ตรวจสภาพรถ คุณจะไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้)
- กรอกข้อมูล พ.ร.บ.รถยนต์ (หากยังไม่มีสามารถกดซื้อออนไลน์ได้) และ ชื่อ-ที่อยู่ส่งเอกสาร
- เลือกช่องทางการชำระเงิน โดยสามารถชำระได้ทางบัญชีธนาคาร ผ่านบัตรเดบิต/เครดิต และเคาน์เตอร์เซอร์วิส
- หลังดำเนินการเสร็จสิ้น ทางกรมการขนส่งทางบกจะส่งใบเสร็จรับเงิน ป้ายภาษี กรมธรรม์ และ พ.ร.บ.รถยนต์ (ถ้ามี) ตามที่อยู่ที่แจ้งไว้ ภายใน 3-5 วันทำการ
ต่อภาษีรถยนต์เกิน 7 ปี ราคาเท่าไหร่
ภาษีรถยนต์ของรถแต่ละคันนั้นไม่เหมือนกัน โดยจะต้องดูที่หลายปัจจัยด้วยกัน ทั้งประเภทรถ รุ่นรถ ขนาดเครื่องยนต์ น้ำหนักรถ อายุของรถ รวมไปถึงลักษณะการใช้งาน โดยรถที่ใช้รับจ้างหรือขนส่งนั้น ราคาก็จะต่างจากรถส่วนบุคคล โดยรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน จะมีอัตราการคำนวนภาษีตามขนาดของเครื่องยนต์ (c.c.) ดังนี้
ขนาดของเครื่องยนต์ (c.c.) ภาษีต่อ c.c.
1 - 600 c.c. = 0.50 บาท
601 - 1,800 c.c. = 1.50 บาท
1,801 c.c. ขึ้นไป = 4.00 บาท
นอกจากนี้ รถยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้ว 5 ปี จะได้รับการลดหย่อนภาษีประจำปีในปีต่อไป ดังนี้
ปีที่ 6 ร้อยละ 10
ปีที่ 7 ร้อยละ 20
ปีที่ 8 ร้อยละ 30
ปีที่ 9 ร้อยละ 40
ปีที่ 10 เป็นต้นไป ร้อยละ 50
ตัวอย่างการคำนวณรถยนต์ที่มีอายุรถ 7 ปี เครื่องยนต์ 1,500 c.c.
- 600 c.c. แรก c.c. ละ 0.50 บาท > 600 x 0.50 = 300 บาท
- 601 - 1,500 c.c. ละ 1.50 บาท > (1,500 – 601) = 899 x 1.50 = 1,348.50 บาท
จะต้องจ่ายภาษีทั้งหมด 300 + 1,348.50 = 1,648.50 บาท
- ลดหย่อนภาษีรถยนต์ที่มีอายุรถ 7 ปี ร้อยละ 20 > (1,648.50 x 20) / 100 = 329.70
ดังนั้น จะต้องจ่ายภาษีทั้งหมด 1,648.50 - 329.70 = 1,318.80 บาท
ภาษีรถยนต์ คืออะไร?
ภาระที่ผู้เป็นเจ้าของรถยนต์ทุกคนต้องรับผิดชอบในการดำเนินการชำระทุกปี โดยอัตราของภาษีรถจะขึ้นอยู่กับขนาดเครื่องยนต์และอายุปีของรถ
ภาษีรถยนต์แตกต่างจาก พ.ร.บ.อย่างไร?
ภาษีรถยนต์ คือ ภาระที่ผู้เป็นเจ้าของรถยนต์ทุกคนต้องรับผิดชอบ โดยอัตราของภาษีรถจะขึ้นอยู่กับขนาดเครื่องยนต์และอายุปีของรถ ในการที่จะจ่ายภาษีได้นั้นต้องต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ให้เรียบร้อยเสียก่อน เพื่อนำเอกสาร พ.ร.บ.รถยนต์ไปต่อภาษี
ส่วน พ.ร.บ. คือ ประกันรถยนต์ภาคบังคับ พ.ร.บ. ที่มีเพื่อการคุ้มครองผู้ขับขี่ และบุคคลที่สามในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุนั่นเอง ซึ่งทั้งสองส่วนนั้นสำคัญทั้งคู่ หากไม่ทำอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ทำทั้งสองอย่าง ก็จะมีผลทางกฎหมาย หากตำรวจตรวจพบจะมีโทษปรับเนื่องจากไม่แสดง พ.ร.บ.รถยนต์ ไม่เกิน 1,000 บาทและหากเราไม่ได้ต่อพรบรถยนต์ ก็ไม่สามารถต่อทะเบียนรถยนต์ได้ ก็จะมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท จะมีโทษปรับเป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท
ทั้งนี้ ถ้าคุณขาดการต่อภาษีเกิน 3 ปี ทะเบียนรถจะถูกระงับทันที ทำให้การต่อทะเบียนอีกครั้งเป็นเรื่องยุ่งยาก ไม่รวมกับค่าปรับร้อยละ 1 ต่อเดือนจนถึงวันที่เราจ่ายอีกต่างหาก
นอกจากนี้คุณยังสามารถเลือกปรับเปลี่ยนความคุ้มครองได้ตามสไตล์การขับขี่ของคุณ แถมผ่อนสบาย 0% นาน 10 เดือน ไม่มีบัตรก็ผ่อนได้ ซื้อประกันชั้น 1 วันนี้ฟรี โค้ดเติมน้ำมัน ด่วนจำนวนจำกัด!
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด
สอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์ โทรฯ 02 767 7777 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมคลิก https://www.directasia.co.th/