ข้อควรระวังก่อนติดตั้งระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน

by | ก.พ. 29, 2024 | รู้หรือไม่ | 0 comments

เชื่อว่าผู้ขับขี่หลายคนคงวางแผนติดตั้งระบบสำหรับ ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน โดยเฉพาะกันไว้แล้ว ก่อนตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า EV หรือ Electric Vehicle เพราะเรื่องลดค่าใช้จ่ายเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ใครหลายคนหันมาใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า แทนรถที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเบนซินและดีเซล อีกทั้งเป็นที่ทราบกันดีว่าค่าใช้จ่ายของค่าไฟที่ใช้ในการชาร์จรถนั้น มีราคาประหยัดกว่าการจ่ายค่าน้ำมันหลายบาทนั่นเอง

 ไดเร็ค เอเชีย (DirectAsia)ประกันรถยนต์ ที่สนใจเรื่องรถยนต์ EV ไม่แพ้เรื่องประกัน จึงอยากมาเผยข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับข้อควรระวังที่คุณควรคำนึงถึง ก่อนเลือกติดตั้งระบบชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของคุณ รวมถึงทุกคนในบ้านอีกด้วย

ควรติดตั้งระบบชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านหรือไม่

ผลการศึกษาวิจัยในปี 2019 เกี่ยวกับพฤติกรรมการชาร์จรถของผู้ใช้งานรถยนต์พลังงานไฟฟ้า เผยออกมาว่า ผู้ใช้รถไฟฟ้า EV กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ใช้วิธีชาร์จรถที่บ้าน อีก 15 เปอร์เซ็นต์ชาร์จรถที่ทำงาน และมีเพียง 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เลือกชาร์จรถในที่สาธารณะ

แม้จะไม่อ้างอิงสถิติ แต่หลักการทำงานของรถไฟฟ้าก็เหมือนโทรศัพท์มือถือ ต้องใช้เวลาในการชาร์จแบตเตอรี่มากพอสมควร เพื่อให้มีพลังงานเพียงพอสำหรับการใช้งาน โดยอาจใช้เวลาเพียง 30 นาทีสำหรับการชาร์จแบบเร็ว ไปจนถึง 10 – 12 ชั่วโมงหรือนานกว่านั้นสำหรับการชาร์จปกติ ซึ่งต้องไปพิจารณาอีกทีว่ารถไฟฟ้ารุ่นที่คุณซื้อนั้นใช้เวลาชาร์จเท่าไหร่ เพราะรถแต่ละรุ่นจะใช้เวลาชาร์จแตกต่างกันไปตามขนาดแบตเตอรี่

ดังนั้นหากคุณเลือกซื้อรถยนต์ EV มาใช้แล้ว การลงทุนติดตั้งระบบชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะคุณคงไม่อยากออกจากบ้านทั้งที่แบตโทรศัพท์มือถือเหลือไม่กี่เปอร์เซ็นต์และหวังว่าจะไปหาที่ชาร์จนอกบ้านได้ทุกครั้ง แบตเตอรี่รถไฟฟ้า EV ก็เช่นกัน

ควรตรวจสอบอะไรบ้าง ก่อนติดตั้งระบบชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน

ข้อมูลจากการไฟฟ้านครหลวงได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้ที่ต้องการติดตั้งระบบชาร์จรถไฟฟ้า EV ควรตรวจสอบจุดต่าง ๆ ทั้งสิ้น 6 จุดด้วยกัน เพื่อให้แน่ใจว่าการดำเนินงานติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านจะปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ดังนี้

1. ขนาดของมิเตอร์ไฟฟ้าในบ้าน

จุดแรกที่ควรตรวจสอบก็คือ มิเตอร์ไฟฟ้า เพราะระบบไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านทั่วไปจะติดตั้งมิเตอร์ขนาด  1-Phase 15(45)A ซึ่งไม่สามารถรองรับการชาร์จรถไฟฟ้า EV ได้ ดังนั้นจึงควรเลือกเปลี่ยนขนาดมิเตอร์ไฟฟ้ามาเป็นขนาด 3-Phase 15(45)A หรือ Single-Phase 30 (100)A เพื่อป้องกันเหตุไฟช็อตที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างชาร์จรถ หากมีการใช้ไฟฟ้ามากเกินขนาด

2. ตู้ควบคุมไฟฟ้า หรือ MDB

จุดต่อมาคือ ตู้ควบคุมไฟฟ้า สาเหตุที่คุณควรตรวจสอบหรือติดตั้งตู้ควบคุมไฟฟ้าเพิ่มเติม เป็นเพราะว่าระบบชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านจำเป็นต้องแยกใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่น โดยคุณสามารถเลือกติดตั้งตู้ควบคุมไฟฟ้าเพิ่มนอกบ้าน ในบริเวณที่เป็นพื้นที่ในร่มได้

หากไม่สามารถติดตั้งตู้ควบคุมเพิ่มได้ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีช่องว่างอย่างน้อย 1 ช่องในตู้ควบคุมสำหรับติดตั้ง Circuit Breaker สำหรับตัดกระแสไฟหากเกิดเหตุไฟฟ้าลัดวงจร

3. สายเมน และ เบรกเกอร์ลูกย่อย

อีกหนึ่งจุดที่ควรตรวจสอบอย่าให้พลาดก็คือ สายเมน ควรเลือกใช้ขนาด 25 ตารางมิลลิเมตร รวมถึงเปลี่ยนเบรกเกอร์ลูกย่อย (MCB) หรือที่เรียกกันว่า ลูกเซอร์กิต ซึ่งเป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรที่ใช้งานร่วมกับตู้ควบคุมไฟฟ้า ให้มีขนาดรองรับไฟฟ้าได้สูงสุดที่ 100 A หรือ 100 แอมป์

4. เต้ารับ หรือ EV Rocket

มาถึงส่วนสำคัญอย่างเต้ารับ ถือเป็นอีกหนึ่งจุดที่ควรตรวจสอบให้ดี หากต้องการติดตั้งระบบชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน คุณจะต้องมีเต้ารับ 3 รูที่สามารถทนกระแสไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 16 แอมป์

หากมีเต้ารับชนิดนี้อยู่แล้ว ควรตรวจสอบว่าเต้ารับอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ หากเจอจุดผิดปกติควรมีการซ่อมแซมก่อนใช้งานเต้ารับในการชาร์จแบตเตอรี่รถ EV เพื่อป้องกันปัญหาไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นตามมาได้

5. ระยะห่างระหว่างจุดจอดรถและจุดชาร์จรถไฟฟ้า EV

โดยปกติแล้วความยาวสายไฟสำหรับชาร์จ EV จะอยู่ที่ 5 – 10 เมตร ดังนั้นระยะห่างจากจุดที่รถจอดกับเต้าเสียบสายไฟจึงไม่ควรห่างกันเกิน 5 เมตร ป้องกันการเผลอดึงหรือกระชากสายไฟขณะใช้งาน และหากเป็นไปได้ควรตั้งจุดชาร์จในบริเวณที่มีหลังคาหรือที่ร่ม ป้องกันการกระเด็นของน้ำ น้ำฝน หรือละอองน้ำฝน ที่อาจสร้างความเสียหายให้สายไฟและเต้ารับได้

6. เครื่องตัดไฟรั่ว หรือ RCD

จุดสุดท้ายที่ต้องตรวจเช็กสำหรับคนที่ตั้งใจจะมีระบบชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านก็คือ เครื่องตัดไฟรั่ว ควรติดตั้งในกรณีที่สายชาร์จไฟไม่มีระบบตัดไฟในตัว แต่ทางที่ดีคุณควรเลือกซื้อเครื่องชาร์จรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่มีระบบตัดไฟ เพื่อป้องกันปัญหาไฟฟ้ากระแสตรงรั่วไหลระหว่างชาร์จ

ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังวางแผนติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน อย่าลืมตรวจสอบทั้ง 6 จุดที่ไดเร็ค เอเชียได้เน้นย้ำกันด้วย เพราะเรื่องไฟฟ้าเป็นเรื่องความปลอดภัยที่ต้องใส่ใจให้ดี เช่นเดียวกับประกันรถยนต์ ไม่ว่าคุณจะเดินทางไปไหน ไกลหรือใกล้ การมีประกันรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองอย่างครอบคลุม ย่อมสร้างความอุ่นใจได้มากกว่า

เหนือระดับไปอีกขั้นสำหรับผู้ที่ขับขี่รถพลังงานไฟฟ้า EV ไดเร็ค เอเชีย (DirectAsia) มีประกันพิเศษที่พร้อมดูแลคุณโดยเฉพาะ สำหรับท่านใดที่สนใจ ประกันรถไฟฟ้า EV ชั้น 1 ที่คุ้มครองความเสียหายทั้งตัวรถ แบตเตอรี่ อุปกรณ์ชาร์จไฟฟ้า ผู้ขับ คู่กรณี และไม่ว่าจะรถหาย ไฟไหม้ หรือน้ำท่วม ก็คุ้มครองสูงสุดถึง 10 ล้านบาท แถมไม่มีค่าเสียหายส่วนแรก เบี้ยเริ่มต้นเพียง ฿2,XXX/เดือน พร้อมสิทธิ์ ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน

*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด

DA_Banner_04

บทความที่เกี่ยวข้อง

สอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้าน ประกันรถยนต์ โทรฯ 02 767 7777 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมคลิก https://www.directasia.co.th/

รู้หรือไม่ข้อควรระวังก่อนติดตั้งระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน