ค้ำประกันรถยนต์ คืออะไร ทำอย่างไรไม่ให้ผู้ค้ำถูกฟ้อง ?

by | มี.ค. 21, 2024 | รู้หรือไม่ | 0 comments

เชื่อว่าหลายคนคงสงสัยกันไม่น้อยว่าการ ค้ำประกันรถยนต์ คืออะไร ? การค้ำประกันรถยนต์มีเงื่อนไขทางกฎหมายอะไรบ้าง ผู้ค้ำถอนได้ไหม แล้วทำอย่างไรไม่ให้ถูกฟ้อง ? วันนี้ ‘ไดเร็ค เอเชีย (DirectAsia)’ รวบรวมข้อมูลมาให้แล้วพร้อมไขทุกข้อสงสัย

ค้ำประกันรถยนต์คืออะไร ?

การค้ำประกันรถยนต์ คือ การทำสัญญาการกู้เงินจากการนำรถไปเข้าไฟแนนซ์ในกรณีที่ต้องมี ผู้ค้ำประกัน เพื่อเป็นหลักประกันว่า จะมีผู้ที่รับผิดชอบหนี้สินแทน ลูกหนี้ หรือเจ้าของรถ ซึ่งหากลูกหนี้ผิดนัดชำรเกินระยะเวลาที่กำหนดหรือทำผิดสัญญา ผู้ค้ำประกันจะกลายเป็น ลูกหนี้ชั้นสอง ที่ต้องรับภาระในการชำระหนี้แทน ทั้งนี้อัตราการชำระขึ้นอยู่กับข้อตกลงที่ลูกหนี้กับผู้ค้ำประกันตกลงกันก่อนที่จะทำสัญญากู้เงิน

DA_Banner_02

คุณสมบัติของผู้ค้ำประกัน

  • ผู้ค้ำประกันต้องมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และต้องอายุไม่เกิน 65 ปี
  • มีหมายเลขโทรศัพท์พื้นฐานหรือโทรศัพท์มือถือที่ติดต่อได้
  • มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง โดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านอย่างน้อย 1 ปี
  • ประกอบอาชีพถูกต้องตามกฎหมาย,มีรายได้มั่นคง
  • มีความสามารถในการชำระหนี้แทนผู้เช่าซื้อได้และไม่มีประวัติเสียหายทางการเงิน
  • กรณีนิติบุคคลจะต้องจดทะเบียนในนามนิติบุคคลและประกอบธุรกิจไม่ต่ำกว่า 1 ปี

สิทธิ์ของผู้ค้ำประกัน

ผู้ค้ำประกันจะเริ่มรับผิดชอบตามสัญญาเมื่อลูกหนี้มีการผิดนัดชำระภายในระยะเวลาที่กำหนดหรือทำผิดสัญญา ทั้งนี้ทาง เจ้าหนี้ จะไม่สามารถเรียกเก็บหนี้จาก ผู้ค้ำ ได้ในทันที หากแต่เจ้าหนี้จะต้องทำหนังสือแจ้งล่วงหน้าก่อนเป็นเวลา 60 วัน ให้กับผู้ค้ำได้รับทราบ โดยก่อน เซ็นสัญญาค้ำประกัน ผู้ค้ำสามารถ

1. จำกัดวงเงินหนี้

ผู้ค้ำประกันสามารถจำกัดระยะเวลาในการค้ำประกันและวงเงินสูงสุดที่ต้องการชำระ ตามที่ทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรกับลูกหนี้

2. ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย

ส่วนมากการกู้เงินมักจะมีอัตราดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ต้องจ่ายในแต่ละงวด ซึ่งหากลูกหนี้มีการผิดนัดชำระภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้วเจ้าหนี้มาเรียกเก็บกับผู้ค้ำ ทางผู้ค้ำสามารถเลือกจ่ายเฉพาะส่วนที่ได้ทำสัญญากับลูกหนี้ได้

หลังจากที่ผู้ค้ำได้ชำระหนี้ในส่วนที่ต้องรับผิดชอบให้กับทางเจ้าหนี้แล้ว ผู้ค้ำสามารถฟ้องเพื่อเอาส่วนที่ตนจ่ายไปพร้อมเรียกเก็บดอกเบี้ยหรือค่าเสียหายส่วนอื่น ๆ จากทางลูกหนี้ได้

3. หลุดพ้นจากการค้ำประกัน

ผู้ค้ำมีสิทธิ์ในการหลุดพ้นจากการค้ำประกันได้ 2 กรณี คือ

– เมื่อถึงระยะเวลาค้ำประกันที่กำหนด ทั้งนี้ทางเจ้าหนี้และลูกหนี้สามารถตกลงเลื่อนระยะเวลาการชำระหนี้ออกไปได้โดยผู้ค้ำไม่ต้องรับผิดชอบในการชำระหนี้อีกต่อไป

– เมื่อลูกหนี้ไม่ยอมจ่ายหรือหนีหนี้แล้วผู้ค้ำขอชำระหนี้แทน แต่ทางเจ้าหนี้ไม่รับชำระหนี้ จะถือว่าผู้ค้ำหลุดจากการค้ำประกันในสัญญา

*ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับปรับปรุงใหม่ 2558

ค้ำประกันรถยนต์ ผู้ค้ํา ถูกฟ้อง

ขั้นตอนการถอนค้ำประกัน

ตามปกติแล้วผู้ค้ำประกันจะไม่สามารถยกเลิกการเป็นผู้ค้ำกลางคันหรือขณะอยู่ในระยะเวลาสัญญาค้ำประกันได้ แต่ผู้ค้ำสามารถถอนตัวได้เมื่อลูกหนี้มีผู้ค้ำประกันรายใหม่มาแทนผู้ค้ำรายเก่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริษัทไฟแนนซ์ว่าจะยินยอมหรือไม่ โดย

1. ผู้ค้ำประกันรายใหม่จะต้องมีคุณสมบัติของผู้ค้ำประกัน

ตามคุณสมบัติของผู้ค้ำประกันข้างต้น

2. การยินยอมให้เปลี่ยนผู้ค้ำจากบริษัทไฟแนนซ์

บริษัทไฟแนนซ์สามารถยินยอมหรือไม่ยินยอมให้มีการเปลี่ยนผู้ค้ำได้ หากมีการยินยอมให้เปลี่ยนสัญญาทางบริษัทอาจเรียกค่าใช้จ่ายตามระเบียบของบริษัทไฟแนนซ์

*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด

DA_Banner_04

บทความที่เกี่ยวข้อง

สอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้าน ประกันรถยนต์ โทรฯ 02 767 7777 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมคลิก https://www.directasia.co.th/

รู้หรือไม่ค้ำประกันรถยนต์ คืออะไร ทำอย่างไรไม่ให้ผู้ค้ำถูกฟ้อง ?