จอดรถในที่ห้ามจอด แล้วโดนชน ใครเป็นฝ่ายผิด

by | มิ.ย. 14, 2022 | รู้หรือไม่ | 0 comments

จอดรถในที่ห้ามจอด ไม่เพียงเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และรถยนต์เกิดความเสียหาย แต่เจ้าของรถอาจมีความผิด และถูกปรับในที่สุด แต่หากโดนรถคันอื่นมาชน ใครกันแน่ที่เป็นฝ่ายผิด มาดูข้อกฎหมายที่ต้องรู้เกี่ยวกับพื้นที่ห้ามจอด รวมถึงอัตราค่าปรับเมื่อเจ้าของรถยนต์ฝ่าฝืน และใครต้องเป็นผู้รับผิดชอบกรณีเกิดอุบัติเหตุรถชนในพื้นที่ห้ามจอด รู้ครบ ที่นี่

จอดรถในที่ห้ามจอดแล้วโดนชน ใครเป็นฝ่ายผิด

อุบัติเหตุรถชน หรือสภาพการจราจรที่ติดขัดในทุกวันนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนหนึ่งมาจากการจอดรถผิดที่ผิดทาง แม้จะมีกฎหมายควบคุม แต่ก็ยังมีผู้ขับขี่ที่ฝ่าฝืนอยู่ไม่น้อย และเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ก็มีคำถามตามมาว่า ใครกันแน่ที่เป็นฝ่ายผิด

หากรถคันที่ถูกชนจอดในที่ห้ามจอด ไม่ว่าจะเป็นทางโค้ง เส้นขาวแดง หรือพื้นที่ที่มีป้ายห้ามจอดกำกับไว้ รถคันที่ขับไปชนจะเป็นฝ่ายผิด เพราะถือว่าขับขี่โดยประมาท ไม่มีความระมัดระวัง เป็นเหตุให้ทรัพย์สินผู้อื่นเสียหาย ส่วนรถคันที่จอด ถือว่ามีความผิดตามกฎหมายจราจรทางบก จะต้องจ่ายค่าปรับตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งไม่เกี่ยวกับคู่กรณีแต่อย่างใด

รวม 15 พื้นที่ห้ามจอด และกฎหมายเอาผิดรถยนต์ฝ่าฝืน

กฎหมายตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 57 ระบุพื้นที่ หรือบริเวณห้ามจอดรถไว้ ดังนี้

  1. ทางเท้า
  2. สะพานหรือในอุโมงค์
  3. ในทางร่วมทางแยก หรือในระยะ 10 เมตรจากทางร่วมทางแยก
  4. ในทางข้าม หรือในระยะ 3 เมตรจากทางข้าม
  5. ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามจอดรถ
  6. ในระยะ 3 เมตรจากท่อน้ำดับเพลิง
  7. ในระยะ 10 เมตรจากที่ติดตั้งสัญญาณจราจร
  8. ในระยะ 15 เมตรจากทางรถไฟผ่าน
  9. ซ้อนกันกับรถอื่นที่จอดอยู่ก่อนแล้ว
  10. ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ หรือในระยะ 5 เมตรจากปากทางเดินรถ
  11. ระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทาง หรือในระยะ 10 เมตรนับจากปลายสุดของเขตปลอดภัยทั้งสองข้าง
  12. ในที่คับขัน
  13. ในระยะ 15 เมตรก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจำทางและเลยเครื่องหมายไปอีก 3 เมตร
  14. ในระยะสามเมตรจากตู้ไปรษณีย์
  15. ในลักษณะกีดขวางการจราจร

หากฝ่าฝืนจะมีความผิด และต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท โดยเจ้าหน้าที่สามารถเคลื่อนย้ายรถให้พ้นพื้นที่ดังกล่าว หรือใส่เครื่องมือบังคับรถไม่ให้เคลื่อนย้าย ซึ่งเจ้าของรถจำเป็นต้องชำระค่าปรับให้เรียบร้อย เจ้าหน้าที่จึงปลดล็อกเครื่องมือดังกล่าวให้

จอดรถในที่ห้ามจอด แล้วโดนชน ใครเป็นฝ่ายผิด

ข้อควรระวัง! สำหรับรถยนต์ถูกล็อกล้อแล้ว

ข้อควรระวัง: สำหรับรถยนต์ที่จอดในที่ห้ามจอด และเจ้าหน้าที่ได้ทำการล็อกล้อเรียบร้อยแล้ว หากเจ้าของรถพยายามตัด หรือทำลายเครื่องมือดังกล่าว จะถือว่าเข้าข่ายความผิดตามกฎหมาย พ.ร.บ.จราจรทางบก 2522 มาตรา 159 ผู้ขับขี่ผู้ใดทำลายเครื่องมือบังคับรถมิให้เคลื่อนย้าย หรือเคลื่อนย้ายรถที่เจ้าพนักงานได้ใช้เครื่องมือบังคับมิให้เคลื่อนย้าย มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นอกจากนี้ ยังเป็นความผิดข้อหาทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับอีกด้วย

ยอมเสียเวลาหาที่จอดรถอีกสักหน่อย ดีกว่าเสี่ยงให้เกิดอุบัติเหตุ เพราะหากโชคร้าย ผู้ขับขี่ หรือผู้โดยสารอยู่ภายในรถ อาจได้รับบาดเจ็บได้ ดังนั้น ผู้ขับขี่ควรปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด เพื่อการขับขี่ที่ปลอดภัยนั่นเอง

DirectAsia แนะนำ กระจายความเสี่ยงหรือลดภาระค่าเสียหายเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ให้ประกันรถยนต์ช่วย อุ่นใจกว่าเยอะ เลือกประกันรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุม เบี้ยราคาดี ผ่อนได้ 0%* นาน 10 เดือน ซื้ออนไลน์ได้ 24 ชม. รับความคุ้มครองทันที* ซื้อง่าย ซื้อเลย >>คลิก<<

บทความที่เกี่ยวข้อง

สอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันภัยรถยนต์  โทร 02-767-7777 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมเช็คเบี้ยประกันรถยนต์ทั้งประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันชั้น 1 เซฟ, ประกันรถยนต์ 2+ , ประกันรถยนต์ 3+ , ประกันชั้น 2 , และ ประกันชั้น 3 คลิก https://www.directasia.co.th/

*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด

DirectAsia เช็คเบี้ยประกันรถยนต์ชั้น 1

รู้หรือไม่จอดรถในที่ห้ามจอด แล้วโดนชน ใครเป็นฝ่ายผิด