รับมือรถมีกลิ่นเหม็นไหม้! สัญญาณอันตรายรถ(ใกล้)พัง
รักรถ เป็นห่วงรถ ต้องไม่ลืมสังเกต “กลิ่นรถ” ที่ผิดปกติ โดยเฉพาะรถมีกลิ่นเหม็นไหม้ ซึ่งเป็นกลิ่นที่ให้ความรู้สึกแตกต่างจากกลิ่นอับทั่วไปภายในรถ ทันทีที่ได้กลิ่นไหม้เตะจมูกเราควรรับมืออย่างไร เพราะเมื่อไหร่ที่รถมีกลิ่นไหม้ถือเป็นหนึ่งในสัญญาณของรถใกล้พัง!
รถมีกลิ่นเหม็นไหม้เกิดจากอะไร ต้องเช็กอะไรบ้าง
กลิ่นไม่พึงประสงค์คงเป็นเรื่องที่หลายคนให้ความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ ซึ่งหากเป็นกลิ่นอับทั่วไปเราก็อาจเลือกใช้วิธีดับกลิ่นรถง่ายๆ หรือตัดสินใจล้างรถทำความสะอาดไปทีเดียว แต่การที่รถมีกลิ่นเหม็นไหม้เป็นอาการบ่งบอกของรถมีปัญหาค่อนข้างชัดเจน อีกทั้งปัญหารถมีกลิ่นไหม้ยังมีที่มาและสาเหตุแตกต่างกันไป ควันรถเหม็นเกิดจากอะไรจึงขึ้นอยู่กับต้นตอของกลิ่นไหม้นั้นๆ เช่น
- กลิ่นไหม้น้ำมันเบรก เกิดจากการเสียดสีของตัวเบรกที่สะสมความร้อนไว้เยอะจนเกินไป ซึ่งนอกจากจะส่งสัญญาณรถมีกลิ่นเหม็นไหม้ อาจมีอาการเบรกเสียงดังกว่าปกติร่วมด้วยได้
- กลิ่นไหม้น้ำมันเครื่อง เหตุการณ์นี้อาจพบได้หลังสตาร์ทรถติดใหม่ๆ ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ แต่จะเป็นสิ่งปกติหากเราขับรถไปได้สักพักแล้วได้กลิ่นไหม้น้ำมันเครื่องขึ้นมา โดยมีสาเหตุได้ทั้งจากน้ำมันเครื่องแห้ง น้ำมันเครื่องรั่ว หรือฝาถังน้ำมันเครื่องหลวมก็เป็นได้
- กลิ่นไหม้ระบบไฟฟ้าขัดข้อง หากรถมีกลิ่นเหม็นไหม้คล้ายไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งอาจพบได้มากในรถยนต์ที่ผ่านการดัดแปลงระบบไฟฟ้าที่ไม่ดี หรือการเดินระบบสายไฟที่ไม่ดี ทำให้ไฟฟ้ามีปัญหาจากการใช้งาน
- กลิ่นไหม้ห้องเครื่อง รถมีกลิ่นเหม็นไหม้จากอุปกรณ์ภายในห้องเครื่องชำรุด หลวม หรือขาด ซึ่งอาจมาจากหม้อน้ำแห้ง หรือเครื่องยนต์ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เป็นต้น
และอีกหนึ่งกลิ่นที่พบได้จากระบบแอร์ขัดข้องหรือมีปัญหา คือกลิ่นเหม็นอับที่มักมาพร้อมตอนเปิดแอร์ แม้จะทำความสะอาดมากแค่ไหนแต่กลิ่นอับนั้นจะยังถูกปล่อยออกมาได้เรื่อยๆ ผ่านระบบแอร์รถยนต์ เหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณของรถยนต์มีปัญหาทั้งสิ้น
3 วิธีรับมือกลิ่นเหม็นไหม้ในรถ
นอกจากการขับขี่ให้ปลอดภัยและใส่ใจกฎจราจรแล้ว การหมั่นสังเกต “อาการผิดปกติ” ของเครื่องยนต์อยู่เสมอ สามารถช่วยลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนานคตได้ รวมถึงการดูแลรักษาเครื่องยนต์ โดยเฉพาะ 3 ข้อสำคัญที่ควรรับมือก่อนรถมีกลิ่นเหม็นไหม้ ตามนี้!
- เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเมื่อครบระยะที่กำหนด ทุกๆ 8,000-10,000 กิโลเมตร สามารถช่วยปกป้องสมรรถนะเครื่องยนต์ได้เป็นอย่างดี เพราะการใช้น้ำมันเครื่องที่เสื่อมสภาพจะยิ่งเป็นการเร่งให้เครื่องยนต์ทำงานหนักมากจนเกินไป ทั้งยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยของการที่รถมีกลิ่นเหม็นไหม้ร่วมด้วย
- เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ แม้รถยนต์รุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นระบบเกียร์ออโต้ เนื่องจากมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ช่วยให้สะดวกสบายมากกว่ารถเกียร์ธรรมดา แต่เมื่อใช้งานไปสักระยะ บวกกับขาดการดูแลรักษา การทำความสะอาด หรือการเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ ก็อาจทำให้เกิดปัญหาเกียร์กระตุก เกียร์มีเสียงดัง และรถมีกลิ่นเหม็นไหม้จากเกียร์ได้ โดยทั่วไปเราจึงควรเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ทุกๆ 20,000-30,000 กิโลเมตร หรืออย่างน้อยปีละครั้ง
- หลีกเลี่ยงการเหยียบเบรกกะทันหัน รถมีกลิ่นเหม็นไหม้จากการเบรก หากเปลี่ยนชิ้นส่วนประกอบใหม่แล้ว ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ที่เสี่ยงต่อการเสียดสีเอาไว้ให้มาก โดยเฉพาะการขับขี่ระยะไกล หรือทางขึ้นเขาลาดชันที่มักต้องใช้เบรกมากเป็นพิเศษ เราจึงควรแตะเบรกอยู่เป็นระยะ อย่าเหยียบเบรกแบบกะทันหันจนเกินไป รวมถึงควรจอดแวะพักเพื่อไม่ให้เครื่องยนต์ทำงานหนักจนเกินไป
เมื่อได้ทราบแล้วว่าควันรถเหม็นเกิดจากอะไร และมีวิธีป้องกันรถมีกลิ่นเหม็นไหม้ยังไงได้บ้าง ก็แอบอดนึกไม่ได้ว่าทักษะการขับรถมีมากกว่าแค่การขับรถ วางแผนเส้นทาง หรือคำนวณเวลาการเดินทางจริงๆ ยิ่งใครที่ใช้รถยนต์อยู่เป็นประจำ ยิ่งต้องหมั่นสังเกตอาการรถ และเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้รถมีกลิ่นเหม็นไหม้ไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ พร้อมพกความอุ่นใจไปได้ไกลกว่า… ด้วยแผนประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ที่ครอบคลุมทุกความดูแลในทุกๆ การขับขี่ พร้อมรับสิทธิ์ผ่อน 0%* 10 เดือน ทั้งบัตรเครดิต/เดบิต เลือกอู่คุณภาพในเครือได้มากกว่า 1,000 แห่ง* พร้อมบริการช่วยเหลือฉุกเฉินตลอด 24 ชม. ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 จาก DirectAsia ประกันที่พร้อมอยู่เคียงข้างคุณในทุกทริปการเดินทาง
สามารถเช็กเบี้ยประกันรถยนต์ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ง่ายๆ คลิก
สอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้าน ประกันรถยนต์ โทรฯ 0-2767-7777 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมพร้อม เช็คราคาประกันรถยนต์ ทั้ง ประกันชั้น 1, ประกันชั้น 1 เซฟ, ประกันชั้น 2+, ประกันชั้น 3+, ประกันชั้น 2, และ ประกันชั้น 3 คลิก https://www.directasia.co.th
*เงื่อนไขเป็นไปตามบริษัทกำหนด
* ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
** เมื่อซื้อประกันรถยนต์ชั้น 1 บนเว็บไซต์เท่านั้น