DirectAsia แนะนำค่าใช้จ่ายรถยนต์ประจำปี 2566 ที่ผู้ขับขี่ต้องจ่าย และควรวางแผนการจ่ายไว้ล่วงหน้า เพื่อให้สอดคล้องกับรายจ่ายอื่น ๆ จะมีอะไรบ้าง มาเช็กลิสต์ไปพร้อมกันเลย
-
ค่างวดรถยนต์
ค่างวดรถยนต์ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระทุกเดือน แต่สำหรับใครที่กำลังจะซื้อรถคันใหม่ ควรวางแผนค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ด้วยเช่นกัน โดยให้เริ่มต้นจากการคำนวณค่างวดรถ หรือค่าผ่อนรถยนต์ที่คุณมั่นใจว่าสามารถจ่ายได้อย่างคล่องตัวในทุก ๆ เดือน ซึ่ง DirectAsia มีสูตรคำนวณง่าย ๆ มาฝาก และจะยกตัวอย่างให้เห็นชัด ๆ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1: นำ ราคารถยนต์ – เงินดาวน์ = ยอดจัดไฟแนนซ์
ขั้นตอนที่ 2: นำ (ยอดจัดไฟแนนซ์ x อัตราดอกเบี้ย) ÷ จำนวนปีที่ต้องการผ่อน = ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทั้งสิ้น
ขั้นตอนที่ 3: นำ ดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย + ยอดจัดไฟแนนซ์ (ในขั้นตอนที่ 1) = จำนวนเงินที่ต้องจ่ายจริง
ขั้นตอนที่ 4: นำ จำนวนเงินที่ต้องจ่ายจริง ÷ จำนวนเดือนที่ผ่อน = ค่างวดรถในแต่ละเดือน
ยกตัวอย่างเช่น
รถยนต์ราคา 500,000 บาท หักเงินดาวน์ 150,000 บาท แล้ว จะได้ยอดจัดไฟแนนซ์ทั้งสิ้น 350,000 บาท
นำยอดจัดไฟแนนซ์ x อัตราดอกเบี้ย 5% (ขึ้นอยู่กับศูนย์จำหน่ายรถยนต์และระยะเวลาผ่อน) จะได้ 17,500 บาท/ปี และในระยะเวลา 3 ปี (จำนวนปีที่ต้องการผ่อน) จะต้องจ่ายดอกเบี้ยรวมทั้งสิ้น 17,500 x 5 จะได้ค่าดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทั้งสิ้น 87,5000 บาท
จากนั้น นำดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายรวมกับยอดจัดไฟแนนซ์ จะได้จำนวนเงินที่ต้องจ่ายทั้งหมด 437,500 บาท สรุปค่าใช้จ่ายทั้งหมด 437,500 ÷ 3 ปี จะได้ค่างวดรถที่ต้องจ่ายโดยประมาณ 12,153 บาท/เดือน
ทั้งนี้ อย่าลืมวิเคราะห์ด้วยว่าค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เหมาะสมแล้วหรือไม่ หากตึงเกินไป อาจจะพิจารณาว่าควรปรับแผนอย่างไร เช่น เลือกรถยนต์ที่ราคาถูกลงอีกหน่อย ผ่อนให้นานขึ้นอีกนิด หรือเก็บเงินดาวน์เพิ่มขึ้น รวมถึงจองรถยนต์ช่วงที่มีโปรโมชัน รวมถึงสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากศูนย์บริการ อาจจะช่วยให้คุณสามารถจ่ายค่างวดรถได้อย่างสะดวกใจ และไม่ลำบากกระเป๋าตังค์นั่นเอง
-
ค่าประกันภัยรถยนต์
เมื่อมีรถยนต์แล้ว คุณควรรัดกุมค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นระหว่างใช้งานรถด้วย โดยส่วนใหญ่แล้ว ค่าใช้จ่ายที่มักจะงอกขึ้นมาอย่างไม่ได้ตั้งใจ ก็คือค่าซ่อมรถกรณีเกิดอุบัติเหตุนี่แหละ ทำให้คุณต้องควักเงินจ่ายบานปลายเลยทีเดียว DirectAsia แนะนำ ให้ทำประกันรถยนต์ เพื่อกระจายความเสี่ยงดังกล่าว ซึ่งรถยนต์ รวมถึงผู้ขับขี่จะได้รับความคุ้มครองจากบริษัทประกันภัยตามเงื่อนไขกรมธรรม์ และบริษัทประกันภัยจะดำเนินการด้านงานเคลม และให้ความช่วยเหลือในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินอื่น ๆ เช่น ปรึกษางานซ่อม เติมน้ำมัน หรือปั๊มกุญแจรถ เป็นต้น
ซึ่งช่วงปลายปี ถือเป็นเวลาทองที่ผู้ขับขี่ควรต่อประกันภัยรถยนต์ เพื่อรับโปรโมชันสุดคุ้ม สำหรับผู้ที่ซื้อ ประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันชั้น 1 เซฟ หรือ ประกันรถยนต์ 2+ จาก DirectAsia รับฟรี! บัตรเติมน้ำมันสูงสุด 3,000 บาท พร้อมบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชม. คลิก https://www.directasia.co.th
-
ค่าต่อภาษีรถยนต์ประจำปี
ค่าต่อภาษีรถยนต์ในแต่ละรุ่นจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับขนาดรถยนต์ และประเภทรถ รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย สำหรับช่องการต่อภาษีรถยนต์ หรือเอกสารที่ต้องเตรียม สามารถอ่านเพิ่มเติม DirectAsia รวบรวมข้อมูลที่ผู้ขับขี่จำเป็นต้องรู้ไว้แล้ว >>ที่นี่<<
ในกรณีที่ขาดการต่อภาษีประจำปี คุณจะโดนปรับในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน จนถึงวันชำระ นอกจากนี้ยังอาจถูกจับปรับ หากใช้รถที่ไม่เสียภาษีประจำปี หรือไม่แสดงเครื่องหมายเสียภาษี จะมีอัตราโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ถ้าขาดการชำระค่าภาษีติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี รถยนต์นั้นจะถูกระงับในส่วนของการใช้ทะเบียนอีกด้วย
-
ค่าประกันพ.ร.บ.รถยนต์
ประกันรถยนต์พ.ร.บ. เป็นอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเป็นประจำทุกปี มีความสำคัญไม่แพ้กับประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ และราคาที่แสนจะถูก ซึ่งมีอัตราเบี้ยประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 คือ รถเก๋ง 600 บาท รถกระบะ 900 บาท และรถตู้ (ไม่เกิน 15 ที่นั่ง) 1,100 บาท เมื่อเทียบกับความคุ้มครองที่ได้รับแล้ว ถือว่าคุ้มค่ามาก ๆ ทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร รวมถึงผู้ประสบภัย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิด จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายทั้งสิ้น
DirectAsia แนะนำว่าห้ามลืมต่อพ.ร.บ.เป็นอันขาด ไม่อย่างนั้น คุณจะหมดสิทธิ์รับความคุ้มครองที่ได้กล่าวไปข้างต้น รวมถึงไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้ แถมยังต้องจ่ายค่าปรับไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่งแพงกว่าค่าต่อพ.ร.บ.เสียอีก
-
ค่าบำรุงรักษารถยนต์
คุณควรตรวจสภาพรถยนต์ หรือเช็กระยะทุก 10,000 กม. ซึ่งการบำรุงรักษารถยนต์ สามารถทำได้ง่าย และสะดวกสบาย ณ ศูนย์บริการ โดยมีค่าใช้จ่ายหลัก ๆ ได้แก่ ของเหลว หรืออะไหล่ต่าง ๆ เช่น น้ำมันเครื่อง กรองอากาศ ผ้าเบรก น้ำมันเบรก แบตเตอรี่ และอื่น ๆ อีกทั้งคุณไม่ควรทิ้งระยะเวลาตรวจสภาพรถนานเกินไป เนื่องจากรถยนต์จะมีโอกาสเกิดความเสียหายหนักกว่าเดิม ส่งผลให้คุณต้องจ่ายค่าซ่อมที่มากกว่าการตรวจสภาพแล้วเจอความผิดปกติตั้งแต่เนิ่น ๆ เสียด้วย
ค่าใช้จ่ายที่ DirectAsia นำเสนอไปข้างต้น เป็นค่าใช้จ่ายหลัก ๆ ที่ผู้ขับขี่สามารถวางแผนการจ่ายล่วงหน้า ให้สอดคล้องกับรายจ่ายได้ และยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ควรนำมาพิจารณาร่วมกัน ซึ่งผู้ขับขี่แต่ละคน อาจมีรายจ่ายที่ไม่เหมือนกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เพื่อการขับขี่ที่อุ่นใจตลอดปี ให้ DirectAsia ดูแลคุณตั้งแต่ต้นจนจบ โทร 02-767-7777 หรือ https://www.directasia.co.th/
บทความที่เกี่ยวข้อง
- โปรโมชัน ประกันรถยนต์ ส่งท้ายปี 2022 ประกันใกล้หมด รีบดูเลย!
- เช็ก! ปีชง 2566 พร้อมวิธีแก้ชง สถานที่แก้ชง มงคลตลอดปี
- ส่อง 10 รถหรู! บรรดานักฟุตบอลโลก 2022
สอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันภัยรถยนต์ โทร 02-767-7777 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมเช็คเบี้ยประกันรถยนต์ทั้งประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันชั้น 1 เซฟ, ประกันรถยนต์ 2+, ประกันรถยนต์ 3+, ประกันชั้น 2, และ ประกันชั้น 3 คลิก https://www.directasia.co.th