ผู้ขับขี่หลายคนยังเข้าใจว่าการทำประกัน พ.ร.บ. เพียงพอแล้ว บล็อกนี้ DirectAsia จะพามาทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างการทำพ.ร.บ และการทำประกันรถยนต์ มีการคุ้มครองจากพ.ร.บ.แล้วทำไมยังต้องทำประกันรถยนต์อีก?
ความแตกต่างระหว่าง พรบ รถยนต์ กับประกันรถยนต์
ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) คือ ประกันภัยรถยนต์ที่กำหนดให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรถทุกคันมีหน้าที่ต้องทำประกันภัย ตามความคุ้มครองที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ได้กำหนดขึ้น การทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับนี้ รถยนต์ที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งต้องทำทุกคัน เพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้ขับขี่ (และคู่กรณี) จะได้รับสิทธิคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลยามเกิดอุบัติเหตุ โดยมีการกำหนดวงเงินคุ้มครองเอาไว้อย่างชัดเจน ตามกฎหมาย ดังนี้
1. ค่าเสียหายเบื้องต้น ได้รับโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด
-
- ความเสียหายต่อร่างกาย 30,000 บาท
- กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร 35,000 บาท
2. ค่าเสียหายส่วนเกิน กรณีพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิด
-
- ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท
- กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
- ค่าชดเชยรายวัน 200 บาทต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 20 วัน (กรณีต้องพักฟื้นในโรงพยาบาล)
- จำนวนเงินรวมทั้งหมดที่จ่ายได้ รวมกันสูงสุดไม่เกิน 504,000 บาท
เมื่อมองในมุมนี้ หลายคนคงคิดว่าก็พอแล้ว เพราะพ.ร.บ.ก็คุ้มครองตั้งหลายอย่าง แต่ถ้าลองพิจารณากันให้ถี่ถ้วนอีกนิด โดยเฉพาะเมื่อนำมาเทียบกับ ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ หรือ การทำประกันภัยที่มีการตกลงระหว่างผู้ซื้อ (ผู้เอาประกันภัย) และผู้ขาย (บริษัทประกันภัย) โดยผู้ซื้อประกันภัยสามารถเลือกขอบเขตความคุ้มครองและวงเงินประกันภัย ได้ตามความพึงพอใจ เราจะเห็นทันทีว่าความคุ้มครองของพ.ร.บ. ค่อนข้างจำกัด ดังนี้
- พ.ร.บ. จะให้ความคุ้มครองเฉพาะตัวผู้ขับขี่ (และคู่กรณี) เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงรถยนต์
- วงเงินคุ้มครองถูกกำหนดไว้ตายตัวตามกฎหมาย ผู้ขับขี่ไม่สามารถขอเพิ่มให้วงเงินสูงขึ้น
- พ.ร.บ. จะคุ้มครองเฉพาะความเสียหายจากการขับขี่, ค่ารักษาพยาบาล, ค่าสินไหมทดแทนและค่าปลงศพ (กรณีถึงแก่ชีวิต) แต่ไม่รวมความเสี่ยงอื่นที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ความเสียหายจากภัยธรรมชาติ, ความเสียหายต่อรถยนต์เนื่องจากสูญหาย/ไฟไหม้ ซึ่งจะเป็นความคุ้มครองที่ประกันภัยภาคสมัครใจ (* เฉพาะบางประเภทชั้น) ครอบคลุม
จุดเด่นเพิ่มเติมของประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
นอกเหนือจากความแตกต่างหลักด้านบน ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจยังมาพร้อมกับข้อดีอื่นอีกมากมายที่ไม่มีในความคุ้มครองของพ.ร.บ. อาทิ
- เจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันคอยอำนวยความสะดวก กรณีเกิดอุบัติเหตุและมีการดำเนินการเอกสารต่าง ๆ จะมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำปรึกษา ช่วยแบ่งเบาภาระ ไม่ต้องเสียเวลาจัดแจงทุกอย่างด้วยตนเอง
- มีผู้ช่วยดูแลหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น เจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันภัยจะเข้ามาดูแล เจรจาไกล่เกลี่ยกับคู่กรณีให้
- มีบริการเสริม เพิ่มเติมจากความคุ้มครองที่ระบุในกรมธรรม์ที่บริษัทประกันรถยนต์ แถมมาให้ตอนซื้อประกันด้วย เช่น บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน ที่จะเข้ามาช่วยเหลือผู้เอาประกันหากเกิดอุบัติเหตุ เช่น เติมน้ำมันฟรี, บริการรถยก, บริการช่างซ่อม หรือบริการเปลี่ยนยาง ที่พร้อมให้ความช่วยเหลือ 24 ชั่วโมง เลยทีเดียว
การซื้อประกันภัยภาคสมัครใจมีข้อดีมากมาย โดยเฉพาะประกันภัยของ DirectAsia ที่การันตีว่าเป็นประกันภัยรถยนต์ที่บริการดีที่สุด คุ้มค่าที่สุด อีกทั้งยังผ่อนประกันรถยนต์ได้ในราคาสบายกระเป๋า พร้อมการันตีถึงที่เกิดเหตุภายใน 30 นาที อีกด้วย หากท่านสนใจสั่งซื้อประกันรถยนต์ สามารถเปรียบเทียบประกันรถยนต์ หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมทั้ง ประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันชั้น 1 เซฟ, ประกันรถยนต์ 2+, ประกันรถยนต์ 3+, ประกันชั้น 2, และ ประกันชั้น 3 คลิกเว็บไซต์ https://www.directasia.co.th หรือสอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ โทร 02-767-7777
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด
สอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์ โทรฯ 02 767 7777 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมคลิก https://www.directasia.co.th/