ข้อควรรู้! รถไม่มี พรบ.หมดสิทธิ์รับความคุ้มครองอะไรบ้าง ?
เคยสงสัยไหมว่า ทำไมต้องทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พรบ.) ทั้งที่ทำประกันภาคสมัครใจอยู่แล้ว หากไม่ทำประกัน พรบ. รับความคุ้มครองของประกันภาคสมัครใจอย่างเดียว จะเพียงพอหรือไม่ บล็อกนี้ DirectAsia มาไขข้อสงสัย เหตุใดผู้ขับขี่ต้องทำประกัน พ.ร.บ. และหากไม่ทำจะเสียสิทธิ์อะไรบ้าง มาอ่านกัน
ทำไม "เจ้าของรถ" ต้องทำประกันภัยภาคบังคับ (พรบ.)
ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ คือ การทำประกันภัยรถยนต์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ฉบับ พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ดังนี้
- คุ้มครอง และให้ความช่วยเหลือเป็นค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ เช่น การรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที หรือกรณีเสียชีวิตจะช่วยเป็นค่าปลงศพ
- ใช้เป็นหลักประกันในการรักษาพยาบาลหลังประสบภัยทางรถยนต์กับโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล
- ใช้เป็นสวัสดิการสงเคราะห์ที่รัฐมอบให้แก่ผู้ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุ หรือภัยทางรถ
- เพื่อส่งเสริมให้การประกันภัยเข้ามามีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยและครอบครัว
ทั้งนี้ การทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับยังสามารถแบ่งประเภทรถยนต์ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
- รถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องยนต์ ประกอบด้วย รถจักรยานยนต์, รถสามล้อเครื่อง, รถสกายแลป, รถยนต์นั่งไม่เกิน 7 คน, รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน(ตามขนาดที่นั่ง), รถยนต์บรรทุก, รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด, หัวรถลากจูง, รถพ่วง, รถยนต์ป้ายแดง(การค้ารถยนต์), รถยนต์ที่ใช้ในการเกษตร และรถยนต์ประเภทอื่นๆ
- รถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ประกอบด้วย รถจักรยานยนต์, รถสามล้อ และรถยนต์นั่งไม่เกิน 7 คน
รถไม่มี พรบ. หมดสิทธิ์รับความคุ้มครองอะไรบ้าง ?
สำหรับรถที่ไม่มี พรบ. จึงเท่ากับหมดสิทธิ์ความคุ้มครองตามที่กฎหมายกำหนด ดังนี้
- กรณีเกิดอุบัติเหตุ (ไม่มีคู่กรณี) เช่น ชนขอบฟุตบาท เฉี่ยวชนกำแพง ต้นไม้ หรือไถลล้มลงข้างทาง แม้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต จะไม่ได้รับความคุ้มครองใด ๆ ทั้งสิ้น
- อุบัติเหตุชนคนอื่น (เป็นฝ่ายผิด) กองทุนทดแทนของผู้ประสบภัย(คู่กรณี) จะเรียกเก็บค่าเสียหายตามที่ข้อกฎหมายกำหนด (กรณีบาดเจ็บเท่าที่รักษาจริงไม่เกิน 30,000 บาท /เสียชีวิตไม่เกิน 35,000 บาท) โดยบวกเพิ่ม 20% พร้อมค่าปรับที่ฝ่าฝืนการทำประกัน พรบ. เป็นเงินไม่เกิน 10,000 บาท
- ไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ ในแต่ละปีผู้ขับขี่ต้องต่อประกัน พรบ. ซึ่งหากไม่มีประกัน พรบ. ตั้งแต่แรกจะต้องเสียค่าปรับประมาณ 400-1,000 บาท ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ขาดหายไป โดยมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยเดือนละ 1% หรือหากปล่อยไว้นานเกิน 3 ปี ทะเบียนรถก็จะถูกระงับ พร้อมโดนโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
นอกจากนี้ยังมีค่าปรับตามกฎหมาย กรณีฝ่าฝืนไม่ทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ นอกจากเจ้าของรถหรือผู้ขับขี่จะไม่ได้รับสิทธิ์ความคุ้มครองตามกฎหมายแล้ว ยังมีโทษปรับหรือค่าปรับ ดังนี้
- กรณีเจ้าของรถไม่ทำ พรบ. ภาคบังคับรถยนต์ มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
- กรณีที่ผู้ขับขี่ไม่ใช่เจ้าของรถ หรือขับขี่รถคันที่ไม่ได้ทำ พรบ. หรือไม่ได้ต่ออายุ ประกัน พรบ. จะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
- กรณีที่เจ้าของรถไม่ทำ พรบ. รถยนต์ และได้นำรถดังกล่าวไปใช้ ถือว่ามีความผิดทั้ง 2 ข้อ และมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
ซึ่ง การต่อประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับสามารถดำเนินการต่อล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน หรือก่อนประกัน พรบ. หมดอายุ และไม่ควรปล่อยให้ พรบ. ขาดนานเกิน 3 ปี เพราะจะมีผลให้เลขทะเบียนรถถูกระงับ พร้อมจ่ายค่าปรับเดือนละ 1% ในการเสียภาษีรถยนต์ ซึ่งหากดูตามข้อบังคับทางกฎหมาย จะเห็นว่าเราไม่ควรปล่อยให้ประกันภัยภาคบังคับขาดแม้แต่วันเดียว!
คุ้มครอง อุ่นใจ ซื้อ พรบ.คู่กับประกันภาคสมัครใจ กับ DirectAsia
คนพร้อม รถพร้อม ประกัน พรบ. ต้องพร้อมด้วย! ขับขี่อุ่นใจ มั่นใจมากขึ้นด้วยประกันรถยนต์ที่พร้อมอยู่เคียงข้างคุณตั้งแต่ต้นจนจบ ซื้อง่ายใน 5 ขั้นตอน เริ่มคุ้มครองทันที
- ผ่อนจ่ายสบายๆ ผ่อนได้ทั้งบัตรเครดิตและเดบิต 0%* นาน 10 เดือน
- การันตีเช็กราคาประกันรถยนต์ได้ราคาดี
- การันตีเคลมไว ถึงที่เกิดเหตุภายใน 30 นาที*
- เลือกซ่อมอู่ ศูนย์บริการในเครือที่เราแนะนำกว่า 1,000 แห่งทั่วประเทศ*
- ให้คุณซ่อมจนกว่าจะพอใจ ด้วยการันตีคุณภาพงานซ่อมสี และตัวถังสูงถึง 12 เดือน*
DirectAsia ยังให้คำปรึกษา ฟรี! โทร 02-767-7777 หรือ https://www.directasia.co.th เพื่อให้ผู้ขับขี่ได้แผนประกันภัยรถยนต์ที่ตอบโจทย์การใช้งานที่สุด และรับเบี้ยประกันราคาที่คุ้มค่าที่สุด เพราะ DirectAsia ดูแลคุณตั้งแต่ต้นจนจบ
สอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันภัยรถยนต์ โทร 02-767-7777 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมเช็คเบี้ยประกันรถยนต์ทั้งประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันชั้น 1 เซฟ, ประกันรถยนต์ 2+, ประกันรถยนต์ 3+, ประกันชั้น 2, และ ประกันชั้น 3 คลิก https://www.directasia.co.th
อ้างอิง: สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด