4 ข้อต้องรู้ก่อนเปรียบเทียบราคาประกันภัยรถยนต์ชั้น 1
- ราคาประกันภัยรถยนต์ชั้น1 ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย
- ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาประกันรถยนต์ชั้น 1 มีอะไรบ้าง
- การปรับทุนประกันชั้น 1, ความคุ้มครอง และค่าเสียหายส่วนแรกให้เหมาะสม
- ส่วนลดและโอกาสในการลดค่าเบี้ยประกันรถยนต์ชั้น 1
สำหรับหลายท่านที่กำลังมองหาประกันรถยนต์ชั้น 1 ต้องรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับราคาก่อนตัดสินใจซื้อ DirectAsia รวบทุกข้อสำคัญมาให้แล้ว
1. ราคาประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย
มือใหม่หลายคนที่ไม่เคยซื้อประกันมาก่อนอาจพยายามหาข้อมูลหรือตารางเปรียบเทียบราคาประกันรถยนต์ของแต่ละบริษัท ที่มีการระบุอย่างชัดเจนในทันที แต่การคำนวณราคา "ประกันรถยนต์" นั้นไม่เหมือนกับการคิดราคา "สินค้าทั่วไป" ที่สามารถตั้งราคาเดียวและใช้ได้กับผู้บริโภคทุกคน บริษัทประกันจำเป็นต้องพิจารณาหลายปัจจัย เช่น ประวัติส่วนตัว ประวัติการขับขี่ ข้อมูลรถยนต์ นำมาใช้ในการคำนวณราคาประกันรถยนต์ เพื่อให้ได้ "ใบเสนอราคาประกันรถยนต์" (Car Insurance Quote) เฉพาะของแต่ละบุคคล
บรรดาตารางเปรียบเทียบที่เห็นตามอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่มักเป็นราคาเปรียบเทียบโดยคร่าว ๆ หรือไม่ก็เป็นเพียงตัวอย่างของผู้ขับขี่รายหนึ่งเท่านั้น หากผู้เอาประกันอยากทราบราคาที่แน่นอน จะต้องเช็กราคาเฉพาะของตนเอง จากบริษัทประกันในแต่ละแห่ง โดยการเช็กราคาประกันปัจจุบัน ก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก สามารถเช็กกันได้ง่าย ๆ ดังนี้
-
เปรียบเทียบประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ด้วยตนเองผ่านทางเว็บไซต์
ผู้เอาประกันสามารถกรอกรายละเอียดและเช็กราคาประกันรถยนต์ของตนเองได้อย่างสะดวกและรวดเร็วผ่านทางเว็บไซต์ของผู้ให้บริการ นับเป็นวิธีการเช็กราคาที่สะดวกที่สุดและยังช่วยให้ผู้เอาประกันสามารถเปรียบเทียบราคาของบริษัทประกันในแต่ละแห่งได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย
-
เปรียบเทียบประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 กับพนักงานผ่านโทรศัพท์ หรือ ที่บริษัทประกัน
ผู้ที่ไม่สะดวกเช็กด้วยตนเอง สามารถติดต่อผู้ให้บริการผ่านทางโทรศัพท์ได้ หรือเดินทางไปยังบริษัทประกันได้เช่นกัน เพียงเท่านั้น ก็สามารถเปรียบเทียบราคาของบริษัทประกันในแต่ละแห่งได้แล้ว แม้จะต้องใช้เวลาแต่มีข้อดีคือสามารถสอบถามผู้ให้บริการได้ทันทีหากมีคำถามหรือข้อสงสัย
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาประกันรถยนต์ชั้น 1 มีอะไรบ้าง?
แม้จะขึ้นชื่อว่า ประกันชั้น 1 แต่หลักการคำนวณเบี้ยก็ไม่ได้แตกต่างจากประกันชั้นอื่นแต่อย่างใด เมื่อเช็กเบี้ยประกันผ่านเว็บไซต์ หรือสอบถามพนักงานทางโทรศัพท์ ผู้เอาประกันจำเป็นที่จะต้องเตรียมข้อมูล ดังนี้ ประวัติการขับขี่ เช่น ประวัติการเคลมหรือประวัติอุบัติเหตุ ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา, ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ขับขี่ เช่น อายุ เพศ สถานภาพ, ข้อมูลรถยนต์ เช่น เลขตัวถัง ยี่ห้อ รุ่น และปีรถ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญ ที่อาจมีผลต่อพฤติกรรมการขับขี่ของแต่ละบุคคล และแน่นอนว่าจะมีผลต่ออัตราเบี้ยประกันด้วยเช่นกัน
จากสถิติ พบว่าผู้ขับขี่ที่มีครอบครัว มีแนวโน้มที่จะขับขี่อย่างระมัดระวังมากกว่าผู้ขับขี่ที่ยังไม่มีครอบครัว จึงมีความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนน้อยกว่า การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเหล่านี้ เรียกว่า "คณิตศาสตร์ประกันภัย" หรือ "Actuarial Science" ซึ่งอาจมีหลักการและรายละเอียดแตกต่างกันในแต่ละบริษัทประกันภัย
อีกทั้งราคารถยนต์และประวัติผู้ขับขี่ก็มีผลต่อเบี้ยประกัน หากรถยนต์มีราคาสูงหรืออะไหล่หายาก/นำเข้า ราคาเบี้ยประกันก็จะสูงตามกัน และหากผู้ขับขี่มีประวัติเคลมบ่อยและมักเป็นฝ่ายผิด ราคาเบี้ยก็อาจสูงกว่าผู้ขับขี่ประวัติดี
โดยนอกจาก "กลุ่มปัจจัยข้อมูลส่วนตัว/ข้อมูลรถ" ข้างต้น อีกกลุ่มปัจจัยที่จะมีผลต่อเบี้ยประกันของเราเช่นกันก็คือ "การปรับแต่งคุณสมบัติกรมธรรม์" เช่น การปรับทุนประกัน, การปรับความคุ้มครอง และการเลือกรับค่าเสียหายส่วนแรก
3. การปรับทุนประกันชั้น 1, ความคุ้มครอง และค่าเสียหายส่วนแรกให้เหมาะสม
ปัจจัยข้อมูลส่วนตัว/ข้อมูลรถยนต์ ดังที่กล่าวไปข้างต้นนั้น เป็นปัจจัยที่ผู้ขับขี่อย่างเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่ปัจจัยกลุ่มที่ 2 อย่างการปรับแต่งคุณสมบัติกรมธรรม์นั้น ถือเป็นปัจจัยที่สามารถกำหนดและปรับให้เหมาะสมกับผู้เอาประกันหรือให้คุ้มค่าที่สุด เช่น การปรับทุนประกันให้เหมาะสม, การเลือกรับเฉพาะรายการคุ้มครองที่ตรงกับความเสี่ยงของผู้ขับขี่ และการเลือกจ่ายหรือไม่จ่ายค่าเสียหายส่วนแรก
รถทุกคันที่ได้คำนวณทุนประกันไปนั้น มีอัตราเบี้ยประกันที่แตกต่างกันออกไป สำหรับรถใหม่ป้ายแดง มักจะได้ทุนประกันที่สูงเฉลี่ย 80-85% ของราคารถ ส่วนรถเก่าหรือรถมือสองอาจได้ทุนประกันในระดับราคาที่ต่ำลงมา
ทั้งนี้ ผู้ขับขี่สามารถขอปรับทุนประกันตามความเหมาะสม และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทประกันได้ เพราะทุนประกันจะมีผลต่อราคาเบี้ยโดยตรง อย่างไรก็ดี ไม่ควรปรับจนต่ำหรือสูงเกินไป เพราะผู้ซื้อประกันชั้น 1 มักคิดว่าประกันที่คุ้ม คือประกันที่คุ้มครองทุกอย่าง แต่ในสถานการณ์จริง ควรเลือกความคุ้มครองให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการขับขี่มากกว่า เพราะท้ายที่สุดเบี้ยที่จ่ายและความคุ้มครองที่ได้ อาจไม่ครอบคลุมความเสี่ยง หรืออาจได้ความคุ้มครองเกินความจำเป็น
นอกจากนี้ อย่าลืมใส่ใจกับ "ค่าเสียหายส่วนแรก (Deductible)" ที่ผู้เอาประกันต้อง "ชำระ" กรณีเกิดอุบัติเหตุและตนเองเป็นฝ่ายผิด ตามจำนวนที่ตกลงไว้กับบริษัทประกัน หากจ่ายมาก ก็ยิ่งช่วยให้เบี้ยประกันต่อปีลดลงได้
4. ส่วนลดและโอกาสในการลดค่าเบี้ยประกันรถยนต์ชั้น 1
สุดท้ายนี้ DirectAsia ขอแนะนำว่า ก่อนตัดสินใจซื้อประกันรถยนต์ อย่าลืมเช็กกันเพิ่มเติมอีกสักหน่อย เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ที่ผู้เอาประกันจะได้รับ เช่น ส่วนลดกลุ่ม ส่วนลดสำหรับข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนส่วนลดในการเลือกซ่อมอู่ซ่อมรถในเครือ เพราะจะยิ่งช่วยประหยัดมากขึ้น 1,000-3,000 บาท เลยทีเดียว
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องประกันรถยนต์พร้อมเช็คราคาประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันรถยนต์ 2+, ประกันรถยนต์ 3+, ประกันชั้น 2, และประกันชั้น 3 คลิกเว็บไซต์ DirectAsia หรือสอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันภัยรถยนต์ โทร 02-767-7777
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด