ทำอย่างไรดีเมื่อพ.ร.บ.รถยนต์หาย หาอย่างไรก็ไม่เจอ ปัญหาการทำเอกสารหล่นหายหรือหาไม่เจอ เป็นหนึ่งในปัญหาโลกแตกที่หลาย ๆ คนพบเจอ ซึ่ง พ.ร.บ.รถยนต์หาย ก็เป็นหนึ่งในนั้น เพราะ พ.ร.บ. รถยนต์เป็นเอกสารสำคัญที่ผู้ขับขี่รถยนต์ทุกคนต้องทำ เมื่อ พ.ร.บ. รถยนต์หาย เราจะต้องทำอย่างไรบ้าง วันนี้ไดเร็ค เอเชียมีข้อมูลที่จำเป็นมาฝากกัน
พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร?
พ.ร.บ.รถยนต์ หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เป็นประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับที่กฎหมายกำหนดให้เจ้าของรถยนต์ทุกคันที่ใช้ในประเทศไทยต้องทำประกันรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) และยังเป็น 1 ในหลักฐานที่จำเป็นต่อการต่อภาษีรถยนต์ในทุก ๆ ปี
ซึ่ง พ.ร.บ.รถยนต์ เป็นเอกสารที่ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากการใช้รถยนต์ โดยที่ไม่จำเป็นต้องสนใจว่าคน ๆ นั้นจะเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิด หากเกิดความเสียหายขึ้น ผู้เสียหายก็จะได้รับความคุ้มครองตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ และยังเป็นหลักประกันสถานพยาบาลว่าผู้ได้รับบาดเจ็บจะมีค่ารักษาแน่นอน
การต่อ พ.ร.บ.รถยนต์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากตามที่กฎหมายกำหนด หากไม่ทำมีโทษเป็นค่าปรับ คือ
- กรณีเจ้าของรถไม่ทำประกัน พ.ร.บ.มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
- กรณีคนที่ไม่ใช่เจ้าของรถ ขับขี่รถคันที่ไม่ได้ทำหรือไม่ได้ต่ออายุประกัน พ.ร.บ.มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
- กรณีที่เป็นเจ้าของรถไม่จัดทำประกันภัย พ.ร.บ.และได้นำรถคันนั้นไปใช้ ถือว่าผิดทั้ง 2 กระทง มีโทษปรับ ไม่เกิน 20,000 บาท
พ.ร.บ.รถยนต์ ให้ความคุ้มครองในเรื่องใดบ้าง?
ในความคุ้มครองของ พ.ร.บ.รถยนต์นั้นจะเกิดขึ้นเมื่อเกิดเหตุความเสียหายกับรถที่ทำประกัน เรื่องความคุ้มครองจะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือ ค่าเสียหายเบื้องต้นกับค่าสินไหมทดแทน
1. การคุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น
เป็นการคุ้มครองที่ครอบคลุมทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์นั้น ๆ แม้จะไม่ได้อยู่ในรถยนต์ก็ตามโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด บริษัทประกันจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัย,ทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยภายใน 7 วัน นับจากวันที่บริษัทได้รับคำร้องขอให้บริษัทชดเชยในความเสียหายกับผู้ประสบภัย โดยจะแบ่งออกเป็น 3 กรณีด้วยกันคือ
- ค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ โดยเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน
- ค่าเสียหายในกรณีทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะถาวร หากเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกายถึงขั้นสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวร บริษัทประกันจะจ่ายค่าเสียหาย เบื้องต้นจำนวน 35,000 บาทต่อคน
- กรณีที่เสียชีวิต จะได้รับเป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายที่จำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวน 35,000 บาทต่อคน กรณีเสียชีวิตภายหลัง คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน 30,000 บาท และค่าปลงศพ 35,000 บาท รวมไม่เกิน 65,000 บาท ซึ่งทายาทโดยธรรมของผู้เสียชีวิตจะเป็นผู้ที่ได้รับค่าชดเชยเหล่านี้
2. การคุ้มครองค่าสินไหมทดแทน
ในกรณีที่พิสูจน์แล้วว่าผู้ประสบภัยเป็นฝ่ายถูก บริษัทประกันจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ 3 กรณี คือ
- ค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง โดยที่ต้องมีหลักฐานการชำระเงิน และค่ารักษาพยาบาลนั้นจะชดเชยให้ไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน
- ค่าเสียหายทดแทนในกรณีทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะถาวร เป็นจำนวนเงินอยู่ที่ระหว่าง 200,000 ถึง 500,000 บาทต่อคน ขึ้นอยู่กับจุดที่สูญเสียอวัยวะและเงื่อนไขอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
- ค่าสินไหมทดแทนในกรณีที่เสียชีวิต เป็นจำนวนเงินสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาทต่อคน ซึ่งทายาทโดยธรรมของผู้เสียชีวิตจะเป็นผู้ที่ได้รับค่าชดเชยเหล่านี้
- ค่าชดเชยรายวันในกรณีที่บาดเจ็บและเข้ารับการรักษาในฐานะ “ผู้ป่วยใน” ภายในสถานพยาบาลผู้ประสบภัยจะได้รับค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท จำนวนรวมกันไม่เกิน 20 วัน
พ.ร.บ.รถยนต์หายทำอย่างไรดี?
สิ่งที่หลายคนสงสัย คือ เมื่อ พ.ร.บ.รถยนต์หาย เราควรทำอย่างไรต่อ ขอใหม่ได้ไหม หากทำ พ.ร.บ. รถยนต์หายควรเข้าแจ้งความลงบันทึกประจำวันเป็นอันดับแรก เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันและป้องกันไม่ให้บุคคลอื่นแอบอ้างนำไปใช้ในการกระทำผิดกฎหมาย จากนั้นจึงเริ่มขั้นตอนการขอ พ.ร.บ.รถยนต์ใหม่
ขั้นตอนการขอ พ.ร.บ.รถยนต์ใหม่
แนะนำว่าให้เจ้าของ พ.ร.บ.รถยนต์ทำการจัดเตรียมเอกสาร รวมทั้งใบแจ้งความเป็นหลักฐานยืนยันให้ครบถ้วน เพื่อให้เกิดความสะดวกเวลายื่นเรื่องขอ พ.ร.บ.รถยนต์ใหม่ ขั้นตอนการขอ พ.ร.บ.รถยนต์ มีดังนี้
1. เตรียมเอกสารประกอบการยื่นขอ พ.ร.บ.รถยนต์ใหม่
- เอกสารใบแจ้งความ หรือสำเนาใบบันทึกประจำวันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ
- หนังสือจดทะเบียนรถยนต์ตัวจริงพร้อมสำเนา หากในกรณีที่รถยนต์ติดไฟแนนซ์ ควรดำเนินการขอป้ายใหม่กับบริษัทไฟแนนซ์
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
2. แจ้งทำใบแทนเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีสูญหาย
โดยสามารถติดต่อขอทำใบแทนได้ 2 ช่องทาง คือ
- ติดต่อด้วยตนเอง ณ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1, 2, 3, 4, 5 หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขาทุกแห่งทั่วประเทศ
- เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของกรมการขนส่งทางบก
เอกสารที่ใช้สำหรับทำใบแทนเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี
- บัตรประจำตัวประชาชน
- บัตรประจำตัวข้าราชการ เอกสารที่เป็นสำเนาให้รับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ (ถ้ามี)
- บัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ เอกสารที่เป็นสำเนาให้รับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ (ถ้ามี)
- หนังสือรับรองนิติบุคคล พร้อมสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม ทุกคน และเอกสารที่เป็นสำเนาให้รับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ พร้อมประทับตรานิติบุคคล (ถ้ามี)
- หนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อรอง (แบบ ช.3) เอกสารที่เป็นสำเนาให้รับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ (ถ้ามี)
- หนังสือมอบอำนาจ แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ และเอกสารที่เป็นสำเนาให้รับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ
- คู่มือจดทะเบียน
- หลักฐานการรับแจ้งความ โดยเอกสารที่เป็นสำเนาให้รับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ
- บันทึกถ้อยคำต่อนายทะเบียน
- เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี
3. ยื่นใบแจ้งความหรือใบบันทึกประจำวัน
ให้เจ้าหน้าที่กรมขนส่งตรวจสอบ โดยทางเจ้าหน้าที่จะมีเอกสารให้กรอกเพิ่ม 1 ใบ พร้อมใบคำร้องอีก 1 ใบ
4. รับบัตรคิว
5. ชำระอัตราค่าธรรมเนียม
เพื่อรับ พ.ร.บ.รถยนต์ใหม่ โดยมีค่าธรรมเนียมการออก พ.ร.บ.รถยนต์ใหม่อยู่ที่ 25 บาท
ออก พ.ร.บ.รถยนต์ใหม่ ใช้เวลากี่วัน?
หลังจากที่เราได้ทำการยื่นคำขอกับทางกรมขนส่งทางบกแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการรอรับเอกสาร พ.ร.บ.รถยนต์ใหม่ทดแทนที่ทำหาย โดยทั่วไปใช้เวลาไม่เกิน 1 วัน ในกรณีเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีสูญหาย ต้องยื่นคำขอรับเอกสารภายใน 15 วัน
พ.ร.บ.รถยนต์หาย ต่อภาษีได้ไหม?
อีกหนึ่งข้อกังวลใจของคนที่ทำ พ.ร.บ.รถยนต์หาย คือ “เมื่อ พ.ร.บ.รถยนต์หายแล้ว จะสามารถใช้ต่อภาษีรถยนต์ได้หรือไม่” เพราะมักจะมีกรณีที่ทำ พ.ร.บ.หาย หรือหาเอกสารไม่เจอเมื่อถึงเวลาที่ต้องจ่ายภาษีรถยนต์พอดี ซึ่งปกติแล้วจะสามารถใช้สำเนา พ.ร.บ.ในการต่อภาษีได้ทันที แต่ถ้าหากไม่มีสำเนา พ.ร.บ.รถยนต์เก็บไว้ ก็จะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ และต้องดำเนินการขอ พ.ร.บ.รถยนต์ใหม่ให้เรียบร้อยก่อน
4 สิ่งที่คุณต้องทำ หากทำ พ.ร.บ.รถยนต์หาย เมื่อถึงเวลาต่อภาษีรถยนต์พอดี
1. ยื่นเรื่องขอทำ พ.ร.บ.รถยนต์ใหม่
ตามขั้นตอนด้านบน และควรทำให้เร็วที่สุดเพื่อให้ไม่เสียภาษีรถยนต์ล่าช้า และโดนค่าปรับก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ที่ตามมา
2. ตรวจสภาพรถยนต์
ในกรณีที่รถมีอายุเกิน 7 ปี และขอเอกสารรับรองการติดแก๊ส ในกรณีที่รถมีการติดแก๊สเตรียม
3. เตรียมเอกสารให้ครบถ้วน
ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ.รถยนต์ใหม่ เล่มทะเบียนรถยนต์หรือสำเนาทะเบียนรถ ใบตรวจสภาพรถยนต์ และเอกสารรับรองการเติมแก๊ส (ถ้ามี)
4. ชำระภาษีรถยนต์ประจำปี
ชำระภาษีรถยนต์ได้หลากหลายช่องทางทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ได้แก่ สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ ที่ทำการไปรษณีย์ไทย เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ หรือ ชำระออนไลน์ที่เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของกรมการขนส่ง
รู้หรือไม่ว่า ในปัจจุบันนี้เราสามารถทำเรื่องต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้าได้ถึง 3 เดือน หากเราว่าใกล้ครบกำหนดชำระภาษีรถยนต์ สามารถหาดำเนินการต่อภาษีล่วงหน้าได้ทันที เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ทำ พ.ร.บ.รถยนต์หาย ในช่วงท้าย ๆ ที่ต้องต่อภาษีรถยนต์พอดี
ไม่ควรปล่อยให้ภาษีรถยนต์ขาด โดยรถที่ต่อภาษีล่าช้าจะมีค่าปรับร้อยละ 1 ต่อเดือน และรถที่ไม่ต่อภาษีเกิน 1 ปี จะต้องตรวจสภาพรถพร้อมชำระภาษีที่ขนส่ง นอกจากนี้ รถที่ไม่ต่อภาษีเกิน 3 ปี จะถูกยกเลิกป้ายทะเบียน และต้องไปทำเรื่องที่ขนส่ง พร้อมทั้งตรวจสภาพรถและชำระภาษีต่อไป
ซื้อ พ.ร.บ.รถยนต์ พร้อมกับประกันภัยรถยนต์กับ ไดเร็ค เอเชีย คุ้มค่าแบบ 2 ต่อ ลดความยุ่งยากในการดำเนินการ ไม่ต้องยื่นเอกสารหลายรอบ ซื้อง่าย สะดวก รวดเร็ว จะจ่ายเต็มหรือผ่อนชำระก็ได้ สามารถผ่อน 0% ได้นานถึง 10 เดือนโดยไม่จำกัดวงเงิน ทั้งบัตรเครดิต/เดบิต การันตีงานเคลม 12 เดือน และถึงที่เกิดเหตุภายใน 30 นาที* อุ่นใจ DirectAsia ดูแลตลอดอายุกรรมธรรม์ ทั้งบริการหลังการขายและการเคลม ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.directasia.co.th/compulsory/
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด