เช็คพ.ร.บ รถยนต์ หมดอายุหรือไม่ ต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ได้หรือเปล่า

by DirectAsia Thailand | ต.ค. 7, 2024 | บทความยอดนิยม, ประกันรถยนต์ | 0 comments

ในแต่ละวันคุณอาจมีเรื่องที่ต้องทำมากมายจนลืมเรื่องสำคัญเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างการต่อประกันภัย พ.ร.บ. ที่จะต้องทำทุกปี หลายคนอาจลืมและขาดต่อประกันไป บล็อกนี้ พี่กู๊ดจึงอยากบอกวิธีการตรวจสอบวันหมดอายุพร้อมกับช่องทางการติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อต่อประกันภัย พ.ร.บ. มาอ่านกันเลยครับ

เช็คพ.ร.บ. หมดอายุอย่างไร?

อย่างที่ทราบกันดีว่าประกันภัย พ.ร.บ. มีอายุความคุ้มครอง 1 ปี เจ้าของรถจึงจำเป็นที่จะต้องควรตรวจสอบว่ารถของคุณยังได้รับความคุ้มครองตามประกัน พ.ร.บ. อยู่หรือไม่ และหากใกล้ถึงวันสิ้นสุดความคุ้มครองแล้ว แนะนำให้รีบติดต่อบริษัทผู้รับประกันภัยเพื่อต่ออายุประกันภัยครับ ไม่เช่นนั้นอาจถูกปรับไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่ง พ.ร.บ. รถยนต์จะไม่สามารถซื้อย้อนหลังได้ แต่สามารถซื้อความคุ้มครองล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90 วันครับ หากคุณต้องการตรวจสอบวันสิ้นอายุ พรบ สามารถทำได้ 3 วิธี ดังนี้

1. เช็คพ.ร.บ.รถยนต์ด้วยตัวเอง

เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เพราะคุณสามารถตรวจสอบได้ทันที เพียงดูวันหมดอายุที่หน้ากรมธรรม์ประกัน พ.ร.บ. ดังตัวอย่างรูปด้านล่าง โดยกรมธรรม์จะระบุวันที่เริ่มคุ้มครองและวันสุดสิ้นความคุ้มครองไว้ชัดเจน

ตรวจสอบพ.ร.บ.รถยนต์

ตัวอย่าง พ.ร.บ. รถยนต์

2. เช็คพ.ร.บ. รถยนต์กับบริษัทประกันรถยนต์

กรณีที่คุณทำใบกรมธรรม์ พ.ร.บ. สูญหาย หรือเก็บไว้อย่างมิดชิดจนลืมว่าอยู่ที่ไหน ไม่ต้องตกใจไปครับ ให้โทรสอบถามกับบริษัทประกันรถยนต์ที่ดูแลกรมธรรม์ให้คุณ แจ้งเลขทะเบียนรถยนต์ หรือรายละเอียดอื่น ๆ ให้กับเจ้าหน้าที่ แค่นี้ก็สามารถรู้ได้แล้วครับ

สำหรับผู้ที่ทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจไว้ ไม่ว่าจะ ประกันรถยนต์ชั้น 1, ประกันชั้น 1 พิเศษ, ประกันรถยนต์ 2+, ประกันชั้น 2, ประกันรถยนต์ 3+ และประกันชั้น 3 เมื่อถึงเวลากรมธรรม์ใกล้หมดอายุ เจ้าหน้าที่จากบริษัทประกันภัย จะโทรแจ้งคุณล่วงหน้าครับ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเจ้าหน้าที่ก็จะแนะนำให้ต่อประกันภัย พ.ร.บ.ไปพร้อมกันกับประกันภัยภาคสมัครใจด้วยเลย ซึ่งสะดวก และไม่ต้องคอยตรวจสอบวันหมดอายุเองอีกด้วยครับ

3. เช็คพ.ร.บ.รถยนต์กับสำนักงาน คปภ.

กรณีที่คุณทำประกันภัย พ.ร.บ. หาย แถมยังจำไม่ได้ว่าทำประกันไว้กับบริษัทใด หรือคุณซื้อรถยนต์มือสองมา แต่ลืมสอบถามเจ้าของรถคนเก่าว่ามีความคุ้มครองตามประกันภัย พ.ร.บ. หรือไม่ สามารถโทรสอบถามความคุ้มครองของรถดังกล่าวได้ที่สำนักงาน คปภ. สายด่วนโทร 1186 กด 2 โดยให้แจ้งข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับตัวรถ จากนั้นเจ้าหน้าที่จะช่วยตรวจสอบให้ครับ

ต่อพ.ร.บ.รถยนต์ กับต่อภาษีรถยนต์เหมือนกันไหม?

ผู้ขับขี่บางคนยังเข้าใจผิด และมักค้นหาการติดพ.ร.บ.หน้ารถ หรือ ที่ติดพ.ร.บ.หน้ารถ แท้จริงแล้วป้าย พรบ ไม่ต้องติดหน้ารถ แต่เป็นป้ายภาษีรถ หรือเรียกอีกอย่างว่าป้ายวงกลมต่างหากที่ต้องติด ซึ่งเป็นเอกสารที่ออกโดยกรมขนส่งทางบก จะได้รับหลังจากต่อพ.ร.บ.พร้อมชำระภาษีรถยนต์ประจำปีเรียบร้อยแล้ว และผู้ขับขี่จำเป็นต้องแสดงป้ายภาษีโดยแปะไว้หน้ากระจกรถยนต์ด้วย

พรบรถยนต์และป้ายภาษีรถยนต์

ตัวอย่าง พ.ร.บ. รถยนต์และป้ายภาษีรถยนต์

นอกจาก พ.ร.บ. รถยนต์และป้ายภาษีรถยนต์จะมีความแตกต่างกันอย่างที่พี่กู๊ดได้นำเสนอไปข้างต้นแล้ว คุณยังต้องคอยตรวจสอบป้ายภาษีรถยนต์อีกด้วยว่าหมดอายุเมื่อไหร่ เพราะ พ.ร.บ. รถยนต์กับป้ายภาษีนั้นไม่ได้หมดอายุวันเดียวกันนะครับ วิธีการตรวจสอบป้ายภาษีรถยนต์ดูได้จากวันสิ้นอายุที่ระบุ วันที่ เดือน และปี พ.ศ.ตัวใหญ่ ๆ หน้าแผ่นป้าย

เมื่อรู้วันหมดอายุแล้วอย่าลืมไปต่อภาษีรถยนต์กันนะครับ เพราะหากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบว่าคุณไม่มีป้ายภาษีจะมีโทษปรับ 400-1,000 บาท และใครขาดต่อภาษีรถยนต์ติดต่อกัน 3 ปี รถยนต์ของคุณจะถูกระงับทะเบียน และต้องนำรถไปจดทะเบียนภาษีรถยนต์ใหม่ พร้อมคืนป้ายภาษีเก่า หลักจากนั้นคุณต้องไปชำระค่าภาษีย้อนหลังอีกด้วย

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ไม่ทำได้ไหม?

ความจริงแล้ว พ.ร.บ. คือการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ซึ่งกฎหมายบังคับให้ยานพาหนะทางบกทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก จำเป็นต้องทำประกันภัยประเภทนี้เพื่อรับความคุ้มครองกับตัวบุคคลกรณีที่ได้รับอุบัติเหตุ โดยไม่คำนึงว่าบุคคลนั้นที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุ จะเป็นผู้ที่กระทำความผิดหรือไม่

ง่าย ๆ ก็คือคุ้มครองคุณทันทีเมื่อคุณบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ต่อให้คุณไม่ได้เป็นฝ่ายผิดก็คุ้มครองครับ ดังนั้น ตอบได้เลยว่าประกันภัย พ.ร.บ. มีความจำเป็น และต้องทำเป็นอย่างยิ่ง พี่กู๊ดว่าเป็นสิทธิ์ของผู้ขับขี่ที่ควรได้รับเบื้องต้นที่ดีมาก ๆ เลย ดังนั้นใครขี้ลืมหรือกังวลว่ากลัวจะต่อไม่ทัน คุณสามารถติดต่อบริษัทประกันรถยนต์เพื่อต่อภาษีก่อนหมดอายุได้ล่วงหน้าไม่เกิน 3 เดือนได้เลย ส่วนความคุ้มครองจะมากน้อยแค่ไหน และคุ้มครองอะไรบ้าง มาดูกันครับ

ไดเร็ค เอเชีย โปรโมชัน

เช็ค พ.ร.บ. รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง?

1. คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น

ผู้ประสบภัย ไม่ว่าจะเป็น ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือคนเดินเท้า จะได้รับความคุ้มครอง เป็นค่ารักษาพยาบาลในกรณีบาดเจ็บ และค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด ซึ่งบริษัทประกันจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัย หรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัย ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่บริษัทได้รับคำร้องขอ เป็นจำนวนเงินดังนี้

    1. ค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท/คน
    2. กรณีผู้ประสบภัยสูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต จะได้รับค่าชดเชยจำนวน 35,000 บาท/คน
    3. กรณีผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บ และต่อมาได้สูญเสียอวัยวะ จะได้รับค่าชดเชยรวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาท/คน
    4. กรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิตหลังจากเข้ารักษาพยาบาล จะได้รับค่าชดเชยไม่เกิน 65,000 บาท/คน

2. คุ้มครองค่าสินไหมทดแทน

เป็นค่าเสียหายที่นอกเหนือจากค่าเสียหายเบื้องต้น โดยบริษัทประกันจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน ในกรณีผู้ประสบภัยได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูก จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนเงินดังนี้

    1. ค่ารักษาพยาบาลและค่าเสียหายอย่างอื่นที่ผู้ประสบภัย สามารถเรียกร้องได้ไม่เกิน 80,000 บาท/คน
    2. สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร บริษัทประกันจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 200,000 – 500,000 บาท/คน
    3. กรณีเสียชีวิต บริษัทประกันจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 500,000 บาท/คน
    4. ในกรณีที่เข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน บริษัทจะจ่ายค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท จำนวนรวมกันไม่เกิน 20 วัน

ต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ ทำอย่างไร?

คุณสามารถซื้อประกัน พ.ร.บ. เพียงอย่างเดียว หรือซื้อแพคคู่กับประกันภาคสมัครใจที่สนใจได้หรือต้องการสอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้าน ประกันรถยนต์ โทรฯ 02 767 7777 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมพร้อม เช็คเบี้ยประกันรถยนต์ ทั้ง ประกันชั้น 1ประกันรถยนต์ชั้น 1 เซฟประกันรถยนต์ 2+ประกันรถยนต์ 3+ประกันชั้น 2, และ ประกันชั้น 3 ได้ที่ https://www.directasia.co.th/

 

ไดเร็ค เอเชีย โปรโมชัน

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

 
บทความยอดนิยมเช็คพ.ร.บ รถยนต์ หมดอายุหรือไม่ ต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ได้หรือเปล่า