เช็คสิทธิประกันสังคมออนไลน์ด้วยเลขบัตรประชาชน
พนักงานประจำมักรู้กันอยู่แล้วว่าเงินเดือนแต่ละเดือน จะต้องแบ่งจ่ายค่าประกันสังคมในบางส่วน เพื่อรับความคุ้มครอง และสิทธิประโยชน์จากรัฐบาลในวัยเกษียณ แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าประกันสังคมนั้นให้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง และสามารถ เช็คสิทธิประกันสังคม ได้อย่างไร
DirectAsia รวบรวมสิทธิประโยชน์ของประกันสังคม พร้อมวิธีเช็คสิทธิ์ผ่านทางออนไลน์ ง่าย และทำได้ด้วยตนเอง มาอ่านกัน
วิธีเช็คสิทธิประกันสังคมด้วยเลขบัตรประชาชนออนไลน์
สำหรับคนที่สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตน และใช้สิทธิประกันสังคมได้นั้นต้องเป็นบุคคล 3 กลุ่ม ได้แก่ พนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป (ผู้ประกันตน มาตรา 33) บุคคลที่เคยทำงานอยู่ในบริษัทเอกชนในมาตรา 33 มาก่อน แล้วลาออก (ผู้ประกันตน มาตรา 39) และบุคคลที่ประกอบอาชีพอิสระ (ฟรีแลนซ์) หรือแรงงานนอกระบบ (ผู้ประกันตน มาตรา 40)
โดยคุณสามารถเข้าไปเช็คสิทธิประกันสังคมออนไลน์ได้ด้วยเลขบัตรประชาชนที่เว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคมหรือ www.sso.go.th จากนั้นทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. เข้าเว็บไซต์ www.sso.go.th คลิกที่ “สมัครสมาชิก”
2. เลือกยอมรับข้อตกลงการให้บริการแล้วกดปุ่มถัดไป
3. กรอกข้อมูลส่วนตัว จากนั้นกดถัดไป
4. คลิกที่ “คลิกที่นี่ เพื่อขอรับรหัส OTP” และนำตัวเลขที่ได้จาก SMS มาใส่ในช่องรหัส จากนั้นกดปุ่มยืนยัน
5. เมื่อลงทะเบียนเสร็จสิ้น จากนั้นให้กลับไปที่หน้า “เข้าสู่ระบบ” โดยให้ใส่รหัสที่สมัครไป
6. คลิกที่ “ผู้ประกันตน”
7. ระบบจะขึ้นข้อมูลของผู้ประกันตน เพียงเท่านี้ก็สามารถตรวจสอบสิทธิประโยชน์ของประกันสังคมได้แล้ว
สิทธิประกันสังคมใช้ยังไง ให้สิทธิ์อะไร ตอนไหนบ้าง
1.ค่ารักษาพยาบาล
คุณจะได้รับสิทธิรักษาฟรีในโรงพยาบาลที่ระบุไว้ในบัตร โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เว้นแต่กรณีที่คุณไปเข้าโรงพยาบาลใกล้เคียง จะต้องสำรองจ่ายก่อนแล้วมาเบิกทีหลัง สำหรับผู้ป่วยใน (IPD) สามารถเบิกได้ตามที่จ่ายจริง โดยค่าห้อง และค่าอาหารที่โรงพยาบาลรัฐฯ เบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท ในส่วนของโรงพยาบาลเอกชน สามารถเบิกได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท (ICU 4,500) ทั้งนี้ คุณสามารถเช็คสิทธิประกันสังคมว่า มีรายชื่ออยู่โรงพยาบาลไหนผ่านเว็บ www.sso.go.th ได้เช่นเดียวกัน
นอกจากนั้น ผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงตามนิยามต่อไปนี้ยังสามารถรับบริการตรวจโควิดฟรี โดยใช้สิทธิประกันสังคมอีกด้วย
- ผู้สงสัยติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการอย่างน้อยหนึ่งอาการ ได้แก่ มีไข้ อุณหภูมิตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป, ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ, จมูกไม่ได้กลิ่น, ลิ้นไม่รับรส, หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก
- มีประวัติเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยันโควิด-19 ในช่วง 14 วันก่อนมีอาการป่วย, ไปในสถานที่ชุมชนที่มีรายงานผู้ป่วยยืนยันโควิด-19 หรืออยู่ประเทศหรือพื้นที่ที่มีรายงานผู้ป่วยโควิด-19 ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา รวมทั้งปฏิบัติงานในสถานกักกันโรค
- แพทย์ผู้ตรวจรักษาสงสัยว่าเป็นติดเชื้อโควิด-19 ตามดุลพินิจของแพทย์
โรคและบริการที่ไม่มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์ (กลุ่ม 13 โรคยกเว้น)
- โรคหรือการประสบอันตรายอันเนื่องจากการใช้สารเสพเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
- การบำบัดทดแทนไต กรณีไตวายเรื้อรัง ยกเว้น กรณีเจ็บป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ให้มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์โดยการบำบัดทดแทนไต ด้วยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม , ด้วยวิธีการล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างถาวร และด้วยวิธีการปลูกถ่ายไต ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและอัตราที่กำหนด
- การกระทำใด ๆ เพื่อความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
- การรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลอง
- การรักษาภาวะมีบุตรยาก
- การตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ
- การตรวจใด ๆ ที่เกินกว่าความจำเป็นในการรักษาโรคนั้น
- การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ
- การเปลี่ยนเพศ
- การผสมเทียม
- การบริการระหว่างรักษาตัวแบบพักฟื้น
- ทันตกรรม ยกเว้น การถอนฟัน การอุดฟัน การขูดหินปูนและผ่าฟันคุด ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 900 บาทต่อปี กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้มีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่าย จริงไม่เกิน 1,300 – 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี
- แว่นตา
2. ค่าทำฟัน ค่าทันตกรรม
คุณสามารถใช้สิทธิทำฟัน เช่น ฟันผุ อุดฟัน ขูดหินปูนได้ 900 บาท/ครั้ง/ปี
3. รับเงินเยียวยากรณีทุพพลภาพ
กรณีผู้ประกันตนทุพพลภาพรุนแรง จะได้รับเงินชดเชยในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นรายเดือน ตลอดชีวิต และกรณีทุพพลภาพไม่รุนแรง ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาตามประกาศกำหนด ทั้งนี้มีเงื่อนไขการรับสิทธิ์ โดยคุณจะต้องจ่ายเงินสมทบให้ครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนทุพพลภาพด้วย
4. รับเงินเยียวยาเมื่อเสียชีวิต
คุณจะได้รับเงินค่าทำศพ 50,000 บาท โดยรัฐจะจ่ายให้แก่ผู้จัดการศพ หรือผู้จัดการศพ และยังได้รับเงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิตด้วย ซึ่งมีเงื่อนไขการรับสิทธินี้คือ ก่อนผู้ประกันตนเสียชีวิต จะต้องส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 36 - 120 เดือน โดยจ่ายเงินสงเคราะห์เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 2 เดือน
หากก่อนเสียชีวิตผู้ประกันตนได้ส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 6 เดือน โดยจ่ายให้ทายาทผู้มีสิทธิ
5. ค่าคลอดบุตร ค่าฝากครรภ์
คุณสามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ 15,000 บาท/การคลอดบุตร 1 ครั้ง ไม่จำกัดจำนวนครั้ง โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร ทั้งนี้คุณจะได้รับเงินสงเคราะห์จากการลาคลอด เหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของเงินเดือนเป็นระยะเวลา 90 วัน สำหรับการใช้สิทธิ์บุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงาน
นอกจากนั้น คุณยังสามารถเบิกค่าฝากครรภ์ได้สูงสุด 1,500 บาท โดยแบ่งจ่าย 5 ครั้ง ตามจำนวนการฝากครรภ์คุณภาพที่ใช้การฝากครรภ์ที่ไม่มีภาวะเสี่ยง โดยสามารถเลือกใช้สิทธิประกันสังคมได้ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง แต่จะสามารถเลือกใช้สิทธิได้แค่คนเดียว ไม่สามารถใช้สิทธิซ้ำได้
6. ค่าเทอมบุตร
คุณจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแบบเหมาจ่ายเดือนละ 800 บาท ตั้งแต่บุตรอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ (สูงสุด 3 คน/ครั้ง)และจะต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่รวมบุตรบุญธรรมหรือบุตรที่ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น ทั้งนี้มีเงื่อนไขการรับสิทธิ์ โดยคุณจะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน
7. รับเงินเยียวยากรณีลาออกจากงาน ตกงาน
สำหรับผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงาน มีระยะเวลาว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป และไม่ถูกเลิกจ้างในกรณีทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหาย จะได้รับเงินชดเชย 50% ของเงินเดือน (สูงสุดไม่เกิน 180 วัน คำนวณจากฐานเงินเดือน 15,000 บาท) และกรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างงาน ได้รับเงินชดเชย 30% ของเงินเดือน (สูงสุดไม่เกิน 90 วันคำนวณจากฐานเงินเดือน 15,000 บาท)
8. รับเงินบำนาญกรณีเกษียณ
กรณีบำนาญชราภาพ มีเงื่อนไขการรับสิทธิ์ดังนี้
- จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน (ไม่ต้องจ่าย 180 เดือนติดต่อกัน) มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
- สิทธิประโยชน์
- ถ้าจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือนจะได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือน ในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (ประมาณ 3,000 ต่อเดือน)
- ถ้าจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือนจะได้รับการปรับเพิ่มบำนาญชราภาพอีกร้อยละ 5 สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือนทุกๆ 12 เดือนที่จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือนนั้น
กรณีบำเหน็จชราภาพ มีเงื่อนไขการรับสิทธิ์คือ จะต้องจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
ผู้ประกันตนทั้งบำนาญชราภาพ และบำเหน็จชราภาพจะได้รับสิทธิ์ ดังนี้
- กรณีจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ
- กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายสมทบ พร้อมทั้งผลประโยชน์ตอบแทนที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด
- กรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือนนับตั้งแต่ได้สิทธิบำนาญชราภาพ จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับเดือนสุดท้ายก่อนเสียชีวิต
แต่ละบาทที่คุณได้แบ่งจ่ายสมทบเข้าประกันสังคม เท่ากับว่าเป็นหลักประกันให้กับชีวิตคุณ เพื่อป้องกันกรณีเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ก็ยังมีประกันสังคมเป็นเครื่องการันตีการเข้าถึงสิทธิพื้นฐาน โดยมีค่าใช้จ่ายใด ๆ
ทั้งนี้ทั้งนั้น นอกจากประกันสังคมแล้ว คุณควรป้องกันความเสี่ยงต่อทรัพย์สิน โดยเฉพาะของที่มีมูลค่าสูงอย่างรถยนต์ คุณควรทำประกันรถ เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านอุบัติเหตุทั้งคนและรถ DirectAsia แนะนำ ประกันรถยนต์ชั้น 1, ชั้น 1 เซฟ และชั้น 2+ ให้ผ่อน 0%* 10 เดือน ฟรี! บัตรเติมน้ำมัน และบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชม. โทรตอนนี้เพื่อรับโปรสุดพิเศษที่เบอร์ 02-767-7777 หรือดูโปรโมชันเพิ่มเติมได้ที่ https://www.directasia.co.th/promotion/
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด
สอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันภัยรถยนต์ โทรฯ 02-767-7777 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมคลิก https://www.directasia.co.th/